วันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

โลกจะแตกหรือแค่เปลี่ยนแปลง ?

เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าโลกของเรากำลังเข้าสู่ภาวการณ์เปลี่ยนแปลง ทั้งทางด้านเศษฐกิจ การเมือง การปกครอง ทั้งนี้ อาจเป็นผลมาจากภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงและทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละ   ภูมิประเทศที่กำลังใกล้จะหมดลง ประกอบกับสถานะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในหลาย ๆประเทศกกำลังเกิดความขัดแย้งกัน และมีแนวโน้มเข้าสู่สงครามระหว่างประเทศเข้าไปทุกที รวมไปถึงการที่มีนักวิชาการหลายต่อหลายคนออกมาพูดถึงการทำนายของนอสตาดามุส และ การทำนายของชนเผ่ามายันในอดีต ว่าโลกเราจะถึงการดับสูญ ในวันที่ 21 ธันวาคม 2012 ด้วยหลักการทางวิทยาศาตร์ผมมองว่าโลกของเราไม่อาจะแตก หรือดับสูญไปได้ แต่อาจเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบให้โลก เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ ทั้งนี้ก็มีเหตุการณ์ต่าง ๆที่อาจเชื่อได้ว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่เรากำลังพูดถึงนี้กำลังคืบคลานเข้ามาใกล้เราเข้าไปทุกที ผมขอยกเหตุการณ์ที่ใกล้ตัวที่สุด เหตุการณ์ที่แผ่นเปลือกโลกเกิดการเคลื่อนที่มาชนกันไต้ทะเลลึกเป็นเหตุให้เกิดสึนามิ ซัดเช้าฝั่งในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงไต้ ซึ่งเหตุการณ์นี้ก็ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทั้งทางด้านเศษฐกิจ และทรัพยากรทางละเลที่มีค่ายิ่งไปในพริบตา ต่อจากนั้นไม่นานก็เกิดพายุ ที่มีความรุนแรงสูง พัดเข้าถล่ม ประเทศต่าง ๆในโลก อย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มีการพบหิมะตกในพื้นที่ที่ไม่เคยมีการพบมาก่อน มีการละลายของน้ำเข็งขั้วโลกในอัตราที่เพิ่มขึ้นทุกปี มีการเปลี่ยนแปลงทางทะเล ทางภูมิอากาศ และเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นมาไม่นานมานี้ คือเหตุการสึนามิซัดเข้าถล่มประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีความรุนแรงมากที่สุดในรอบหลายสิบปี เหตุการณ์แบบนี้ก็ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ล่าสุดเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยเราที่รุนแรงที่สุกในรอบหลายสิบปีเช่นกัน ทั้งนิ้เหตุการณ์เหล่านี้ก็ล้วนแล้วแต่เกิดจากการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อใช้สนองความต้องการของตน โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อธรรมชาติ ไม่มีการจัดสรร จัดการที่ดีพอ ทำให้เกิดความไม่สมดุลของธรรมขาติ ส่งผลให้ธรรมชาติต้องปรับตัวอย่างมากและการปรับตัวของธรรมชาตินี้เองก็เป็นสาเหตุนึ่งที่ผมมองว่า อาจเป็นส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่บนโลกของเราก็เป็นได้
ไม่ใช่เพียงธรรมขาติอย่างเดียวที่ต้องเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมไปถึงมนุษย์ก็เช่นกันต้องเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การดำรงชีพก็ยากลำบากมากขึ้น โรคภัยต่าง ๆก็มีความรุนแรงมากขึ้น ยาวัคซีนที่ใช้รักษาก็ต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ทันต่อการกลายพันธุ์ของโรคร้ายชนิดต่าง ๆที่มากขึ้นทุกที ๆ ทำให้โรคบางโรคที่วิทยาศาสตร์และวงการแพทย์ยังไม่สามารถหาทางรักษาได้ คร่าชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆไปมากมาย เราก็ได้แต่หาทางป้องกันตนเองให้รอดพ้นจากโรคร้ายต่าง ๆเหล่านั้น ซึ่งบางครั้งก็อาจเป็นวิธีที่ถูกต้อง บางครั้งก็อาจเป็นวิธีที่เพิ่ม หรือทำให้เชื้อร้ายนั้นกลายพันธ์ไป นั่นก็เป็นสัณญานหนึ่งที่อาจบอกได้ว่า การเปลี้ยนแปลงกำลังไกล้เร้าเข้ามาทุกทีแล้วเหมือนกัน
ในด้านเศษฐกิจ เราต้องยอมรับว่า เศษฐกิจของเราได้เดินทางมาถึงจุดอิ่มตัวแล้วต่อจากนี้ไปก็ขึ้นอยุ่กับความสามารถและนโยบายทางด้ารเศษฐกิจของแต่ละรัฐ แต่ละประเทศที่ต้องมาสู้กันด้วยความคิด ด้วยวิธีการที่แปลกใหม่กว่าเดิมเพื่อรักษาไว้ซึ่งเสถียรภาพทางเศษฐกิจของประเทศตนเอง ซึ่งบางประเทศก็ยังสามารถรักษา เสถียรภาพเหล่าทางเศษฐกิจของตนเองไว้ได้เช่นกลุ่ม  BRIC หรือกลุ่มประเทศเศษฐกิจดาวรุ่งของโลก ได้แก่ Brazil Russia India China แต่บางประเทศก็ไม่อาจจะรักษาความมั่นคง และเสถียรภาพทางเศษฐกิจไว้ได้ เช่นกลุ่มประเทศ PIIGS หรือกลุ่มประเทศที่มีปัญหาเศษฐกิจขั้นรุนแรงในสหาภาพยุโรป มีปัญหาสภาวะเงินเฟ้อ และหนี้สาธารณะสูง ได้แก่ Portugal Ireland Italy Greece Spain ซึ่งมีอัตตราหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงถึง 80-90% ซึ่งผลก็คือประเทศที่อยู่ในกลุ่มยูโรโซน ต้องมาช่วยอุ้ม เศษฐกิจของประเทศเหล่านี้ไว้ไม่ไห้ล้มละลายลงไปเพราะนั่นหมายถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อสกุลเงินยูโร ได้ ทำให้ประเทศเหล่านี้ไม่มีเสถียรภาพทางการเงิน คล้าย ๆกับประเทศไทยที่ต้องทำตามคำสั่ง IMF ตอนวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 นั่นแหละครับ ที่ร้ายแรงกว่านั้นก้คือ ระบบเศษฐกิจของชาติที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาอำนาจของโลก อย่างสหรัฐอเมริกาก็กำลังอยุ่ในภาวะไม่สู้ดีนัก จากการที่รัฐบาลสหรัฐ ทุ่มงบประมาณด้านการทหาร ในการทำสงครามกับประเทศในแถบตะวันออกกลางไปเป็นจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลเกือบจะต้องเสียเครดิตจากการผิดนัดชำระหนี้ ของรัฐบาลเอง เป็นที่มาของการต้องขอมติจากสภาคองเกรซเพื่อผ่านร่างนโยบายเศษฐกิจที่จัดทำขึ้นเพื่อกู้สถียรภาพทางเศษฐกิจของสหรัฐขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ท่ามกลางความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและนอกประเทศเป็นอย่างมาก จากวิกฤติเศษฐกิจของประเทศในแถบยุโรบ และสหรัฐ นี่เองก็ อาจส่งผลกระทบต่อระบบเศษฐกิจของโลก เป็นอย่างมาก ก็อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ครั้งใหญ่ของโลกได้เช่นเดียวกัน
ในด้านการเมืองการปกครอง เราก็ทราบกันดีว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภาพในประเทศต่าง ๆในโลกอาหรับ หรือแม้แต่บางประเทศในแถบเอเชีย ก็ตาม มีการทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ประชนเริ่มไม่พอใจรัฐบาลที่มาจากเผด็จการ การลุกขึ้นสู้ของชาวอาหรับที่นิยมเรียกว่าฤดูใบไม้ผลิอาหรับ (Arb Spring) นับเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนโลกอย่างหนึ่ง เป็นสัญญาณว่าระเบียบโลกเก่า ไม่อาจดำรงอยุ่ต่อไปได้ ในขณะนี้จึงเกิดการต่อสู้ทั้งในด้านการรักษาระเบียบโลกเดิม และการผลักดันให้เกิดระเบียบโลกใหม่ขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นการต่อสู้ที่ยืดเยื้อและรุ่นแรงมากถึงขั้นอาจเป็นสาเหตุให้เกิดสงครามใหญ่ในโลกได้ ทั้งในประเทศ เยเมน ซีเรีย อียิปต์ ลิเบีย อิรัก ฯลฯ แต่ในการเปลี่ยนแปลงนั้น เราไม่อาจมองข้าม ขุมทรัพย์อันมีค่ามหาศาลได้เพราะประเทศในแถบนี้อุดมไปด้วยทรพัยากรที่มีค่ามาก เป็นจำนวนมาก นั่นคือน้ำมัน หลายคนอาจมองว่า การที่หลายประเทศในกลุ่มยุโรป และอเมริกาเข้ามามีบทบาทในการช่วยประชานเหล่านั้นทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในประเทศ นั้น ๆ ก็เพื่อต้องการน้ำมันที่มีเป็นปริมาณมากมายมหาศาลก็เป็นได้ ทั้งนี้ การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศเหล่านั้น ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันของโลกได้เช่นกัน สังเกตจากการประชุมโอเปกที่เมื่อต้นเดือน มิถุนายน 2011 ที่รัฐมนตรีน้ำมันของซาอุดี กล่าวออกมาว่า เป็นการประชุมที่ย่ำแย้ที่สุดที่เราเคยมีมาทั้งนี้ก็ยังไม่รวมถึงกรณีที่เกิดสงครามในลิเบีย มีเบื้องหน้าเบื้อหลังที่ซับซ้อนมาก มีการแสดงจุดยืนในคนละระหว่าง สหรัฐ-นาโต้ และ จีน-รัสเซีย ก่อให้เกิดความสับสนเป็นอันมาก ซึ่งประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันที่กำลังมีข่าวว่าจีน กำลังจะผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจแทนที่สหรัฐ เช่นกล่าวขานกันว่าเศษฐกิจของจีนจะใหญ่กว่าหรือใหญ่เท่ากับสหรัฐในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้เองจึงนับว่าการเปลี่ยนแปลงในโลกอาหรับและตะวันออกกลางย่อมมีผลกระทบต่อเศษฐกิจ – การเมือง ของโลกอย่างมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น