คนส่วนมากมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคำว่า “บุคลิกภาพ” (Personality) หลายคนอาจคิดว่าการมีรูปร่างหน้าตาเป็นอาวุธ หล่อเหลา สวยงาม เป็นการมีบุคลิกภาพที่ดี ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเพราะองค์ประกอบเรื่องรูปร่างหน้าตานั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งบุคลิกภาพเท่านั้น หากใครเกิดมาแล้วมีหน้าตาดีนั้นเป็นเพียงข้อได้เปรียบที่ทำให้คุณมีความดึงดูดและน่าสนใจมากกว่าคนอื่นที่หน้าตาธรรมดาๆ การเกิดมามีหน้าตาดีถือเป็นพื้นฐานหรือการเริ่มต้นที่ดี หากมีการนำความได้เปรียบตรงนี้มาต่อยอดหรือพัฒนาเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ (Personality Development) ให้ดียิ่งขึ้นก็จะเป็นเสน่ห์และเกิดประโยชน์กับตัวเอง แต่ถ้าคิดว่าการมีรูปร่างหน้าตาเป็นอาวุธนั้นเพียงพอแล้ว นั่นคือการเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง คนที่มีบุคลิกภาพที่ดีเป็นที่สนใจของคนรอบข้างที่ได้พบปะพูดคุยด้วย ไม่จำเป็นต้องเป็นคนหน้าตาดีแต่สิ่งที่ทำให้ใครสักคนมีบุคลิกภาพที่ดีเหนือกว่าคนอื่นได้นั้น เกิดจากองค์ประกอบหรือคุณสมบัติหลายๆอย่างรวมกันและเป็นคุณสมบัติที่สามารถพัฒนาฝึกฝนให้เกิดขึ้นได้ จนกลายเป็นสิ่งที่คนทั่วไปเรียกว่า “ความมีเสน่ห์” นั่นเอง
คนที่มีเสน่ห์ (Charming) คือคนที่มีบุคลิกภาพที่ดีซึ่งไม่จำเป็นเสมอไปว่า ต้องเป็นคนที่หน้าตาหล่อเหลาหรือสวยงามราวกับดารา ความมีเสน่ห์หรือบุคลิกภาพที่ดี เป็นคุณสมบัติที่สามารถฝึกฝนให้เกิดขึ้นได้โดยอาศัยความตั้งใจ ในการพัฒนาบุคลิกภาพเป็นพื้นฐานสำคัญโดยคิดถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการพัฒนาบุคลิกภาพนั่นคือ เป็นที่ถูกตาต้องใจ น่าคบหาของใครต่อใครที่ได้พบพูดคุยโดยไม่จำเป็นต้องสวยหรือหล่อหน้าใสอย่างดาราเกาหลี
สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือ รูปร่างหน้าตาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพภายนอกที่ไม่จีรังยั่งยืนย่อมเกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป แต่การมีเสน่ห์หรือบุคลิกภาพที่ดีทั้งบุคลิกภาพภายในและบุคลิกภาพภายนอกเรียกได้ว่าสมบูรณ์ครบถ้วนจะทำให้คุณเป็นคนมีเสน่ห์และความมีเสน่ห์หรือบุคลิกภาพที่ดี(Good Personality)นี่เองที่จะเป็นสิ่งติดตัวคุณไปตลอดชีวิต ขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาบุคลิกภาพคือ ตั้งใจมุ่งมั่นแล้วเริ่มจากการสำรวจตัวเองอย่างตรงไปตรงมาว่ามีข้อดี-ข้อเสียอะไรบ้าง โดยเน้นที่ข้อบกพร่องเพราะเราต้องการนำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาบุคลิกภาพ จากนั้นค่อยๆพัฒนาบุคลิกภาพภายใน (Internal Personality) เมื่อความรู้สึกนึกคิด มีจิตใจดี มีการมองโลกในแง่ดี ก็จะส่งผลให้เกิดการกระทำที่ดี ตามความคิดที่ออกมาจากจิตใจภายใน ขั้นต่อไปคือการพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก(External Personality) ที่จะได้รับพื้นฐานที่ดีจากบุคลิกภาพภายใน ทำให้การกระทำและการแสดงออกมาแล้ว ดูดี มีเสน่ห์แล้วทำการพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกเพิ่มเติมก็เป็นอันสมบูรณ์
เรามารู้จักกับการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีกัน บุคลิกภาพ คือ ลักษณะท่าทางซึ่งสามารถแสดงออกมาได้ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และความรู้สึกนึกคิด ที่สะท้อนออกมาให้ผู้อื่นเห็นและเกิดความประทับใจ
ฉะนั้น การที่บุคคลจะได้รับการยอมรับนับถือ การสนับสนุน ความไว้วางใจ และความประทับใจจากผู้อื่นนั้น ก็ควรที่จะแสดงบุคลิกภาพที่ดีและเหมาะสมให้ผู้อื่นเห็น เพราะบุคลิกภาพมีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง
ก่อนอื่นมาดูที่ 1.ความหมายและความสำคัญของบุคลิกภาพ
คำว่า "บุคลิกภาพ" หมายถึง คุณลักษณะทางกาย ทางจิตใจ และความรู้สึกนึกคิดที่สะท้อนออกมาให้ผู้อื่นเห็นและเกิดความประทับใจมากน้อยเพียงใด
มีความสำคัญคือ บุคลิกภาพนับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง จึงส่งผลต่อการยอมรับนับถือ การให้ความร่วมมือ การสนับสนุน และความไว้วางใจจากผู้อื่น
2. ประเภทของบุคลิกภาพ
2.1 บุคลิกภาพภายนอก คือ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจากภายนอกของแต่ละคน สามารถที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน แบ่งได้เป็น 4 หมวด คือ
1. รูปร่างหน้าตา
2. การแต่งกาย
3. กิริยาท่าทาง
4. การพูด
2.2 บุคลิกภาพภายใน คือ สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจ หรืออุปนิสัยใจคอที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้ แก้ไขได้ยาก เช่น
1. ความเชื่อมั่นในตนเอง
2. ความซื่อสัตย์สุจริต
3. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4. ความรับผิดชอบ
แนวทางที่คนส่วนใหญ่ยึดถือในการพิจารณาบุคลิกภาพของคน มีดังนี้
1. ลักษณะทางกาย ได้แก่ รูปร่าง ทรวดทรง ความสูง น้ำหนัก ความปกติของอวัยวะ สีผม ผิวพรรณ หน้าตา ท่วงที ท่าทาง การแต่งกาย (ตามกาลเทศะ) ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นเครื่องแสดงให้ทราบถึงประสิทธิภาพของบุคคลทางกายซึ่งผู้พบเห็นจะประเมินเราเมื่อเจอกันในเวลา 1-5 วินาทีแรก
2. คุณลักษณะทางจิตใจ เช่น สติปัญญา ความจำ จินตนาการ ความถนัด เจตคติ ความสนใจ ความตั้งใจ การตัดสินใจ ความคิดด้วยเหตุผล ฯลฯ เหล่านี้เกี่ยวกับสมองทั้งสิ้น
3. อุปนิสัย หมายถึง ลักษณะโดยรวมของนิสัยหลายๆ อย่าง ของบุคคลที่แสดงออกเป็นพฤติกรรม เป็นระยะที่ยาวนานพอสมควร จนกลายเป็นความประพฤติหรือความมีศีลธรรม จรรยา มารยาท และคุณธรรม
4. อารมณ์ ได้แก่ ความรู้สึกแห่งจิตที่ก่อให้เกิดการกระทำต่างๆ เช่น ชื่นชอบ ตื่นเต้น โกรธ กล้าหาญ หวาดกลัว ตกใจง่าย ร่าเริง หดหู่ หงุดหงิด กังวล ฯลฯ
5. กำลังใจ คือ ความสามารถที่จะควบคุมหรือบังคับกิริยาอาการต่างๆ ที่กระทำไปโดยเจตนา เช่น กระฉับกระเฉงว่องไว หรือเฉื่อยชา เชื่องช้า ความอดทนหรือความเบื่อหน่าย
6. การสมาคม คือ กิริยา ท่าที อาการที่บุคคลแสดงต่อผู้อื่น เช่น ชอบคบค้าสมาคม หรือเก็บตัว เมตตาปราณี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น หรือไม่แยแสเอาใจใส่กับผู้ใด
7. ความรู้ ความสามารถ อำนาจ ฐานะ ความรู้สูง ความชำนาญ มีความสามารถเป็นพิเศษ ความมี-อำนาจ อิทธิพล มียศถาบรรดาศักดิ์ เหล่านี้เป็นปัจจัยส่งเสริมบุคลิกภาพอย่างมาก
ความสำคัญของการมีบุคลิกภาพที่ดี
ผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดีนั้นเริ่มมาจากผู้ที่มีสุขภาพจิตที่ดี โดยจะเป็นผู้ที่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆตามที่เป็นจริงอย่างถูกต้อง ไม่ต่อต้านหรือยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างโดยไร้หลักการ และไม่ว่าจะอยู่ในสภาวการณ์ใดๆก็ตาม ก็ยังสามารถปฏิบัติได้คงเส้นคงวา นั้นก็คือการเป็นบุคคลที่สามารถปรับตัวได้ดี
การเป็นผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดีนั้นมีลักษณะสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตในแง่มุมต่างๆ ดังนี้
1. มีความสามารถในการรับรู้และเข้าใจในสภาพความเป็นจริงได้อย่างถูกต้อง
2. การแสดงอารมณ์จะอยู่ในลักษณะและขอบเขตที่เหมาะสม
3. มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและสังคมได้ดี
4. มีความสามารถในการทำงานที่อำนวยประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคมได้
5. มีความรักและความผูกพันต่อผู้อื่น
6. มีความสามารถในการพัฒนาตนเอง และการพัฒนาทางการแสดงออกของตนต่อผู้อื่นได้ดีขึ้น
การที่คนเรามีบุคลิกภาพที่ดี ย่อมหมายถึง บุคลิกภาพที่น่าประทับใจเริ่มตั้งแต่ยังไม่เห็นตัวกัน เมื่อเจอหน้ากัน ภายใน 5 วินาทีแรกเราก็จะถูกประเมินแล้วว่าเป็นคนเช่นไรจากบุคลิกภาพภายนอก ซึ่งจะเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจตั้งแต่แรกเห็น ไม่ว่าจะสุขภาพร่างกาย หน้าตา ทรงผม เสื้อผ้า แต่งตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ แลดูสะอาดเรียบร้อย เครื่องประดับ ลีลาท่าทางต่าง ๆ เช่น การยืน เดิน นั่ง การพูดจา น้ำเสียงนุ่มนวลชวนฟัง ไม่พูดกระโชก หรือขวานผ่าซาก รู้จักพูด รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับคนฟังและกาลเทศะ กิริยาท่าทางคล่องแคล่วมีความมั่นใจ สรุป คือภาพรวมภายนอกทั้งหมดของคนเราที่ดูดี ดังคำที่ว่า “กาย-ดูดี วาจา-น่าฟัง และใจ-เป็นบวก”
สำหรับบุคลิกภาพที่ไม่ดี หมายถึง ลักษณะภายนอกที่ดูไม่ดี ได้แก่ การแสดงพฤติกรรมที่ไม่สุภาพไม่เหมาะสมแก่กาลเทศะและสถานที่ไม่เป็นที่พึงปรารถนาของสังคม การแต่งกายที่ไม่สุภาพเรียบร้อย ปล่อยชายเสื้อลอยอยู่นอกกางเกง แต่งกายไม่เหมาะสมกับกาลเทศะ การยืน เดิน นั่ง ไม่สุภาพ การพูดจา พูดกระโชก หรือขวานผ่าซาก ไม่รู้จักพูด รู้จักเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับคนฟังและกาลเทศะ
แนวทางการพัฒนาบุคลิกภาพ
การที่บุคคลจะมีบุคลิกภาพที่ดีต้องมีการปรับตัวและพัฒนาตน โดยเริ่มต้นจาก
1. สำรวจตนเอง โดยอยู่หน้ากระจกแล้วสังเกตบุคลิกภาพที่ประกอบกันขึ้นมาจากหลายๆสิ่งหลายๆอย่างซึ่งรวมเป็นหมวดหมู่แล้วก็จะมีอยู่ 5 หัวข้อต่อไปนี้
1.1 ร่างกาย หมายถึงรูปลักษณ์ภายนอกของคุณที่ปรากฏต่อผู้อื่น รวมตั้งแต่รูปร่างหน้าตา การแต่งกาย ทรงผม กระทั่งการดูแลรักษาความสะอาด และน้ำเสียงหรือถ้อยวาจาที่ออกมาจากปาก
1.2 สติปัญญา ก็คือความสามารถในการรับรู้ การทำความเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆด้วยเหตุและผล ตลอดจนความสามารถในการแยกแยะข้อเท็จจริงต่างๆ
1.3 อารมณ์ เป็นปฏิกิริยาของจิตใจที่ตอบสนองต่อเรื่องราวที่มากระทบตามธรรมชาติมนุษย์ เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เศร้าโศกเสียใจ อารมณ์หดหู่เบื่อหน่าย และอีกหลายอารมณ์ ซึ่งบางครั้งก็เกิดขึ้นเฉพาะในการรับรู้ของแต่ละคนเอง หรือบางครั้งก็อาจปรากฏตัวออกมาให้เป็นที่รู้เห็นของบุคคลอื่นได้เหมือนกัน
1.4 นิสัย คือพื้นฐานพฤติกรรมต่างๆอันเกิดจาก ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม ซึ่งเกิดขึ้นจากการสะสมข้อมูลรวมทั้งการกระทำตามความเคยชินและข้อมูลที่ได้รับรู้มาจากแหล่งต่างๆประกอบกัน
1.5 สังคม หมายถึง สิ่งแวดล้อมในทุกด้านของชีวิต ทั้งที่เป็นบุคคลและเป็นปรากฏการณ์ต่างๆนับตั้งแต่เกิดมาจนถึงปัจจุบัน
2. จดลงสมุดบันทึก ว่ามีอะไรบ้างในตัวเองที่รู้สึกไม่พอใจและรู้สึกชื่นชม พิจารณาดูว่าสิ่งใดที่เราไม่พอใจและอยากปรับเปลี่ยน
3. ถามคนรอบข้าง ถามว่าพวกเขาอยากให้เราปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง การเปิดใจรับฟังเสียงของคนรอบข้าง เหมือนเราได้กระจกส่องชั้นดีทีเดียวมาช่วยส่องอีกทาง เพราะถึงที่สุดแล้วคนที่จะตัดสินว่าเราน่าคบค้าสมาคม น่าส่งเสริมสนับสนุน หรือน่าเบื่อหน่ายก็คือคนรอบข้างของเรา
4. ขอคำแนะนำจากคนที่มีความรู้ในการพัฒนาบุคลิกภาพ หรือผู้ที่มีบุคลิกภาพที่ดีว่าควรทำอย่างไร หรือมีเคล็ดลับพิเศษของแต่ละคนหรือไม่ และพึงรับฟังคำแนะนำด้วยท่าทีที่แจ่มใส ฟังด้วยหัวใจมิใช่ฟังด้วยหู
5. หาหนังสือมาอ่าน ซึ่งเป็นหนังสือที่แนะนำวิธีสำรวจตรวจตราตนเอง มารยาทที่พึงปฏิบัติ
6. หาใครสักคนช่วยฝึกฝน หรือจะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบุคลิกภาพและมารยาทสังคม ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาได้ในระยะเวลาอันสั้น
ดังนั้น การที่บุคคลจะมีบุคลิกภาพที่ดีนั้น ไม่ใช่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแค่ภายนอกด้วยการแต่งกายหรือพฤติกรรมที่แสดงออกเท่านั้น หากจำเป็นต้องมีการปรับปรุงหรือพัฒนาบุคลิกภาพภายในเสียก่อน จึงจะทำให้การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกประสบความสำเร็จได้
การพัฒนาบุคลิกภาพจากภายใน
3. หลักและวิธีเสริมสร้างบุคลิกภาพ
การยืน เดิน นั่ง เป็นส่วนสำคัญที่บอกถึงบุคลิกภาพของแต่ละบุคคล งามอิริยาบถ คือ การเดิน ยืน นั่ง เปิด-ปิดประตู ขึ้นลงรถ อย่างถูกต้องสวยงาม
การรู้จักทำตัวให้เข้ากับบุคคล สถานที่ และเวลา อย่างถูกต้องถือว่ามีมารยาททางสังคมที่ดี เช่น การรู้จักกราบไหว้ที่ถูกวิธี และถูกกาลเทศะ การรู้จักธรรมเนียมของชาวต่างชาติ การปฏิบัติตนในงานเลี้ยงต่าง ๆ การไปเยี่ยมคนป่วย การมอบดอกไม้แสดงความยินดีหรือให้ผู้อาวุโส เป็นต้น
บางครั้งเราอาจจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ทันได้เตรียมตัวเตรียมใจ และอาจเกิดอะไรขึ้นกับเราได้ทุกวินาทีนั้น เราต้องพร้อมเสมอที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ในลักษณะที่พร้อม คือ ไม่ตกใจ ดีใจ เสียใจ กลัว เกินกว่าเหตุ สามารถควบคุมท่าทางของตนเองได้เป็นอย่างดี
4. แนวทางในการพัฒนาบุคลิกภาพ
4.1 การรักษาสุขภาพอนามัย
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เพิ่มหรือลดผิดปกติ
- ละเว้นการสูบบุหรี่หรือยาเสพติดให้โทษทุกชนิด
- ไม่ดื่มสิ่งของที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีน
- พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ วันละ 7-8 ชม.
- รักษาอารมณ์ให้สดชื่นแจ่มใสอยู่เสมอ
4.2 การดูแลร่างกาย
- รักษาความสะอาดในช่องปากและฟัน
- ดูแลรักษาเส้นผมและทรงผมให้เรียบร้อยทั้งด้านความสะอาดและรูปทรง
- โกนหนวดเคราให้เกลี้ยงเกลา ตัดและขริบให้เรียบร้อย
- รักษาผิวพรรณให้สะอาดสดชื่นอยู่เสมอ อย่าให้ผิวแห้งกร้าน
- รักษากลิ่นตัว
- รู้จักการแต่งหน้าแต่พองาม
- ดูแลเล็บมือ เล็บเท้า ให้สะอาดอยู่เสมอ
- ปรับเปลี่ยนเสื้อผ้าและชุดชั้นในที่สวมใส่ทุกวัน
- ควรมีการเช็คร่างกายเป็นประจำทุกปี
- เมื่อร่างกายมีอาการผิดปกติรีบไปปรึกษาแพทย์
4.3 การแต่งกาย
- สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ซักรีดให้เรียบ
- สีสันไม่ฉูดฉาด ควรเลือกสีให้เหมาะสมกับรูปร่างและผิวพรรณของตนเอง
- กระเป๋าถือและรองเท้า ควรใช้หนังที่มีคุณภาพดี สีเรียบ สำรวจส้นรองเท้า จัดการซ่อมแซมให้เรียบร้อย
- แต่งหน้าให้แนบเนียน ไม่แต่งเข้มผิดธรรมชาติ เลือกใช้เครื่องสำอางค์ที่มีคุณภาพดี
- เล็บและการทาเล็บ ไม่ควรไว้เล็บยาวจนเกินไป ควรเลือกสีกลาง ๆ อย่าปล่อยให้สีถลอกจะไม่น่าดู
- ผม หมั่นสระให้สะอาด อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง แปรงหวีให้เรียบร้อย เลือกทรงผมที่รับกับใบหน้า
- เครื่องประดับ ควรใช้เพื่อเสริมการแต่งกายให้ดูดีขึ้น แต่ไม่ควรใช้เครื่องประดับมากจนเกินไปจนดูสะดุดตารกรุงรังไปหมด
- ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์และวัฒนธรรม
- ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ
4.4 อารมณ์
รู้จักควบคุมอารมณ์ ไม่ปล่อยอารมณ์ไปตามใจตนเอง คนที่ควบคุมอารมณ์ตนเองได้จะได้เปรียบและจะเอาชนะเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ ในการปฏิบัติงานเป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนอารมณ์กันอยู่เสมอ
ฉะนั้น บุคคลใดที่ต้องการจะพัฒนาบุคลิกภาพของตนให้ดีขึ้น จะต้องเป็นคนรู้จักอดทนใจเย็นเมื่อมีเหตุการณ์ที่ไม่ถูกใจเกิดขึ้น
4.5 ความเชื่อมั่นในตนเอง
- ยอมรับในความสามารถของตนเอง
- อย่าเล็งผลเลิศในการทำงานจนเกินไป
- อย่าถือคติว่าการทำงานสิ่งใดเมื่อทำแล้วต้องดีที่สุด
- อย่านำความเก่งของผู้อื่นมาทับถมตนเอง
- หมั่นฝึกจิตใจตนเองให้ชนะความกลัวให้ได้
5. การพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิด
ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ถ้ามีความรู้สึกนึกคิดในด้านดี ไม่มองคนในแง่ร้าย จิตใจก็เป็นสุข ไม่มีความกังวล ดังนั้น จึงควรพัฒนาบุคลิกภาพด้านความรู้สึกนึกคิดดังนี้
1. มีความเชื่อมั่นในตนเองในการกระทำในสิ่งต่าง ๆ
2. มีความซื่อสัตย์ กระทำตนให้ผู้อื่นเชื่อถือเรา แล้วความไว้วางใจจะตามมา มีเรื่องสำคัญเขาก็จะให้เราทำ
3. มีความสามารถที่จะทำสิ่งเหล่านั้น ให้เหมาะสมกับผู้ที่มอบหมายไว้วางใจให้เราทำ
4. มีความกระตือรือร้นที่อยากจะทำ เตรียมตัวให้พร้อมอยู่เสมอ
5. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักปรับปรุงงานอยู่เสมอ
6. มีความรับผิดชอบ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องมีความห่วงใยจะต้องทำให้เสร็จทันตามกำหนดเวลา
7. มีความรอบรู้
8. ห่วงตัวเอง เติมชีวิตให้กับตัวเอง
9. มีความจำแม่น
10. วางตัวเหมาะสมกับกาลเทศะ
6. การพัฒนาบุคลิกภาพด้านกายบริหารทรวดทรง
องค์ประกอบของทรวดทรง ขึ้นอยู่กับกลไกของการเคลื่อนไหวของร่างกายและโครงสร้างของร่างกายไม่ว่าหญิงหรือชายก็ชอบที่จะมีรูปร่างงามทั้งนั้น ผู้ชายก็ต้องการมีรูปร่างสมาร์ท ผู้หญิงก็ต้องการมีเอวบาง ร่างน้อย มีสุขภาพดี การมีรูปร่างงาม สุขภาพดี เกิดจากการพัฒนาตัวเราเอง เราเป็นผู้วางแผนในชีวิตของเราเอง
ทรวดทรงอาจไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต แต่ส่วนสัดและท่าทาง ทำให้คนทุกคนดูแตกต่างกันไป บุคลิกที่ไม่ดีแสดงว่าเจ้าของเรือนร่างขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ถ้าได้เรียนรู้วิธีเสริมสร้างเสน่ห์ให้กับบุคลิกภาพของตนเองแล้ว จะไม่เพียงทำให้มีรูปร่างสง่างามเท่านั้น ยังสามารถทำให้การปฏิบัติงานเกิดความเชื่อมั่น งานก็มีประสิทธิภาพอีกด้วย
7 วิธี สร้างบุคลิกภาพที่ดี
บุคลิกภาพ เป็นเรื่องของภาพรวมที่ตัวเราแสดงออกไป ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว โดยมีคนอื่นมองอยู่ หรือรู้สึกกับสิ่งที่เราแสดงออก ดังนั้น จึงต้องมีการระมัดระวังและตกแต่งเสริมเติมให้บุคลิกภาพของเรายิ่งน่ามอง และเป็นที่ประทับใจของคนรอบตัว
1. การมอง
สายตาสามารถบอกถึงความรัก ความเกลียดชัง ความเมตตาปรานี ความโกรธแค้น ความเคารพนับถือ หรือความเหยียดหยาม ดูหมิ่นดูแคลนได้ ฉะนั้นเมื่อเราจะมองใคร เราจะต้องพยายามใช้ สายตาด้วยความสุภาพเรียบร้อย ระวังในการใช้สายตาอย่าให้คนอื่นเกิดความเข้าใจผิดหรือรู้สึกติดลบได้
2. การแต่งกาย
การแต่งกายบ่งบอกความพิถีพิถัน และเอาใจใส่ตัวเอง ช่วยทำให้คนคนหนึ่งดูดีหรือดูแย่ได้ ทุกครั้งที่เลือกเครื่องแต่งกายหรือ กำลังจะแต่งกาย ให้ต้องคำนึงถึงความสะอาดเรียบร้อย ถูกต้องและเหมาะสมกับกาลเทศะ แต่งกายให้พอดี อย่าให้มากเกินไปหรือน้อยเกินไปจนกลายเป็นน่าเกลียด ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับวัย
-แต่งกายให้เหมาะสมกับอายุ
-แต่งกายให้เหมาะสมกับเพศ
-แต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ
-แต่งกายให้เหมาะสมกับบุคลิกภาพ
•คนผอมบาง
– ควรใส่สีอ่อนหรือสีสว่าง จะช่วยให้ดูเปล่งปลั่ง
– สามารถใช้เนื้อผ้าที่มันวาวเพื่อเพิ่มขนาดร่างกาย - หลีกเลี่ยง ผ้าแข็ง ผ้าหนา แนบเนื้อ หรือรัดรูป
•คนอ้วน
- สวมเสื้อผ้าที่เสริมไหล่
- ควรเป็นเสื้อผ้าเนื้อเรียบ เบาบาง - เสื้อควรเป็นคอวี ลายคั้ง
- ผ้าสีเข้ม ช่วยให้ดูผอม
•เป็นคนสูงใหญ่
- ควรสวมเสื้อผ้าที่หนา
- เสื้อคอกว้างๆ แขนกว้างๆ
•คนตัวเตี้ย
- ควรเป็นผ้าสีเดียวกันทั้งชุด
- เสื้อลายแนวตั้ง กระเป๋าด้านเดียว
- เสื้อคอวี แขนยาว ไม่จีบพอง
- กางเกงควรรีดเป็นจีบคม ขายาว
- รองเท้าสีเดียวกับกางเกง
•ผิวขาว
- สีกรม ดำ ช่วยขับผิว ถ้าเป็นสีสดใช้สีอ่อน ..ใช้ได้เกือบทุกสี
•ผิวคล้ำ
- สีเหลืองเทาๆ ครีม สีเบจ น้ำตาลอ่อน ฟ้า เขียวอ่อน ไม่ควรเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือสีเข้มอื่นๆ
3. การพูด
ต้องมีศิลปะในการพูด พูดให้ชนะใจผู้ฟัง โดยจะต้องใช้คำพูดที่มีเหตุผล สุภาพไพเราะ มีน้ำเสียงชวนฟัง เสียงดังฟังชัด ฉะฉาน และใช้คำพูดที่เหมาะสมกับผู้ฟัง โดยคำนึงถึงวัย เพศ ระดับ การศึกษา อาชีพ และความสนใจพิเศษของผู้ฟัง ทั้งยังต้องคำนึงถึงสถานที่ เวลา และโอกาสด้วย
4. การเดิน
ให้เดินตัวตรง อกผายไหล่ผึ่งเพื่อให้ดูสง่า แต่ไม่ต้องถึงกับหลังตรงตัวแข็งเหมือนนักเรียน นายร้อย เดินให้มีท่าทางสง่าและเรียบร้อย เวลาเดินให้ก้าวเท้ายาวพอประมาณ และสอดคล้องกับเสื้อผ้าหรือรองเท้าที่สวมใส่ ว่าก้าวแค่ไหนจึงดูคล่องแคล่วและปลอดภัย ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดเสียงดังจนเกินไป เพราะเสียงฝีเท้าจะไปรบกวนผู้อื่น ไม่เดินผ่ากลางผู้อื่นที่ยืนสนทนากันอยู่
5. การแสดงท่าทาง
ต้องระวังท่าทางที่ไม่สวยงาม เวลาพูดหรือทำอะไรก็ตาม อย่ามีการแสดงท่าประกอบมากเกินไปจนน่าเกลียด หรือแสดงท่าที่ไม่สุภาพ ท่าทางที่ดีจะต้องมาจากพื้นฐานของความสงบ สำรวม ให้เกียรติทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ควรมีท่าทางประกอบเพื่อให้ดูผ่อนคลาย เป็นธรรมชาติ สง่า และเสริมในสิ่งที่พูดหรือเล่า นอกเหนือจากนั้นอาจไม่จำเป็นต้องมีท่าทาง ประกอบแต่อย่างใด
6. ทักษะในการทำงาน
ในการทำงานใด ๆ ก็ตามจะต้องทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ ต้องทำด้วยท่าทางคล่องแคล่ว ด้วยความชำนาญ และให้ได้ผลงานดีเด่น ทำด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ อย่าให้น้อยไปกว่าความสามารถที่เรามีหรือทำได้ ความน่าชื่นใจของผู้ร่วมงานหรือหัวหน้างานทุกคนก็คือ การมีเพื่อนร่วมงานหรือลูกน้องที่ทำงาน "เต็มความสามารถ" อยู่ตลอดเวลา นั่นคือบุคลิกแห่งความสำเร็จ
7. สุขภาพ
ต้องระวัง สุขภาพให้ดี อย่าให้มีโรค ระวังรักษา สุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ ผู้ที่ป่วยออด ๆ แอด ๆ จะดูเป็นคนขี้ โรค ซึ่งน่าเป็นห่วงมากกว่าน่าชื่นชม ดูอ่อนแอ ไม่คล่องแคล่ว โรคบางโรคส่งผลถึงความซีดเซียว ห่อเหี่ยว หม่นหมอง จึงขาดสง่าราศี การดูแลสุขภาพให้ดีคือต้นทุนของการพัฒนาบุคลิกภาพที่สำคัญที่สุด
บุคลิกภาพที่ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
“ ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” นั้น สามารถนำมาใช้ได้กับทุกคนที่ทำหน้าที่จะต้องคอยตอบคำถาม ประสานงาน ให้ความร่วมมือและความช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการทั้งหลาย นั่นหมายความว่าการมีบุคลิกภาพที่ดีย่อมมีเสน่ห์ดึงดูดใจ เป็นเสมือนโซ่คล้องใจลูกค้าให้เกิดความประทับใจ ความมั่นใจในตัวผู้ให้บริการคนนั้น ซึ่งมิใช่เป็นเพียงแค่พนักงานคนหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้การมีบุคลิกภาพที่ดีสามารถบ่งบอกนัยของการทำงานบางอย่างนั่นก็คือ การเตรียมความพร้อมที่มีต่อการทำงาน เป็นผู้พร้อมที่จะรับผิดชอบงานในทุกรูปแบบ พร้อมที่จะเผชิญปัญหาและอุปสรรคนานาประการ รวมถึงมีความพร้อมต่อการสร้างปฎิสัมพันธ์และการพูดคุยกับผู้อื่น
ดังนั้นบุคลิกภาพจึงเป็นเสมือนภาพลักษณ์ภายนอกที่สำคัญ ถือว่าเป็นหน้าตาและกระจกส่องภาพพจน์ของตนเองที่มีต่อสายตาผู้อื่น การสร้างบุคลิกภาพที่ดีของตนเองนั้นไม่ยากเลย ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความต้องการของตน ซึ่งมีเทคนิคและหลักปฏิบัติง่าย ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง ดังต่อไปนี้
การฝึกพัฒนาบุคลิกภาพภายใน เริ่มจาก
1. ทัศนคติ คือจุดเริ่มต้น
ทัศนคติที่ดี คือ จุดเริ่มต้นของบุคลิกง่ายๆ เพียงแต่มองทุกสิ่งในด้านที่ดี ก็จะทำให้มีความสุข แล้วความสุขก็จะเปล่งประกายออกมาภายนอก หรือการมองทุกคนในแง่ดี พยายามเข้าใจว่าเขามีเหตุผลในการกระทำของเขา ก็จะทำให้เราไม่โกรธใครง่ายๆ มองโลกสวยงาม ทำให้เรามีจิตใจรื่นรมย์ แล้วยิ่งหมั่นมีจิตใจเอื้ออาทรต่อผู้คนเพิ่มขึ้นไปอีก ใครๆก็จะชื่นชมได้โดยไม่ยากสบายใจแจ่มใสเสมอ ดังนั้นจึงควรหมั่นทำใจให้ผ่องแผ้วแจ่มใส และสบายใจอยู่เสมอในทุกสถานการณ์ ภาพสะท้อนที่ปรากฏออกมา ทำให้เราเป็นคนร่าเริง กุ๊กกิ๊กน่ารัก สนุกสนานและมีอารมณ์ขันอยู่เสมอ น่ารักอย่างนี้แล้วใครที่ไหนจะไม่ชื่นชม
2. สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง คือ มั่นใจในตนเอง
ควรหมายถึงการมีศรัทธาในตนเอง เชื่อมั่น เชื่อถือในคุณค่า ความสามารถ รูปลักษณ์ บุคลิกลักษณะ ตลอดจนความรู้และหัวจิตหัวใจของตนเอง ทำให้ไม่มีความประหม่า มีความกล้า วินิจฉัยปัญหาได้ด้วยตนเอง ตัดสินใจได้ด้วยตนเอง สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้พอประมาณว่า ถ้าลงมือกระทำไปแล้วจะได้รับผลอย่างไรความแน่ใจในอันที่จะเดิน จะลุกจะนั่ง จะทำ จะพูด จะคิด หรือแสดงออกต่อหน้าสาธารณชนอย่างสร้างสรรค์ และมีความสุขสิ่งที่จะช่วยให้แต่ละคนมีความมั่นใจในตนเองมีความรู้สึกมั่นคง
3. พยายามวิเคราะห์ประเมินตนเองอย่างแท้จริง
คือ พิจารณาว่าตนมีความสามารถใด และขาดความสามารถทางใด แล้วใช้ความสามารถที่มีอยู่ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด พยายามเปลี่ยนสิ่งที่พอจะเปลี่ยนได้ สิ่งที่เปลี่ยนไม่ได้ก็อย่านำมาคำนึงถึงจนกลายเป็นความวิตกกังวล
4. ทำใจให้พร้อมในการเผชิญความจริง
โดยคิดว่าในโลกนี้มีขึ้นมีลง มีทั้งสิ่งดีและไม่ดี มีทั้งคนดีมากและคนดีน้อย เราก็เหมือนคนอื่นๆ คือ ประสบทั้งสิ่งดีและไม่ดีในชีวิต เราอาจพบหัวหน้าห้อง เพื่อนร่วมห้อง รุ่นพี่ และลูกน้องบางคนที่ดีมาก แต่บางคนก็ทำให้เรายุ่งยากใจในการทำงานร่วมด้วย คนบางคนเป็นคนดีตามที่เราต้องการ แต่บางคนถึงกับทำให้เราล้มหมอนนอนเสื่อ ส่วนชีวิตของเรานั้น บางตอนก็ดูราบรื่นมั่นคง บางตอนก็ทำท่าจะไปไม่ไหว คนที่มีความเป็นผู้ใหญ่คือ คนซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ยังพร้อมอยู่เสมอที่จะปรับปรุงชีวิตของตนเองให้ดีขึ้น ไม่หวั่นไหวไปกับการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามกฎธรรมชาติจนเกินกว่าเหตุ
5. ฝึกตนให้มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของตนเองไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด
คือ มีอารมณ์มั่นคง ไม่ปล่อยตนเป็นทาสของอารมณ์ตามธรรมชาติไปเสียหมด โดยธรรมชาติของชีวิตนั้น บางคนก็ร่าเริงมีความสุข บางครั้งก็เศร้าหมองหดหู่ บางครั้งก็โกรธเกลียดไม่ชอบใจ แต่ก็ต้องทำใจว่าชีวิตใครๆ ก็เป็นอย่างนี้ “ชั่วเจ็ดที ดีเจ็ดหน” การมีดีบ้างชั่วบ้างก็ทำให้ชีวิตมีรสชาติ ดังนั้นเมื่อมีความสุขก็ อย่าปล่อยให้ความปิติยินดีมากจนทำให้เราร่าเริง จนผิดกาลเทศะ หรือเมื่อเศร้าหมองหดหู่ใจ ก็อย่าปล่อยตนจมอยู่กับความเศร้าโศกจนทำอะไรไม่ได้หรือขาดสมาธิในการทำงาน การยิ้มสู้เข้าไว้ก็น่าจะเป็นทางออกที่ดีและอย่าคิดสั้น ควรให้โอกาสแก่ตนเองในการเผชิญกับปัญหา ไม่ควรคิดสั้นฆ่าตัวตายเพื่อหนีความล้มเหลว
6. ฝึกตนให้ทำงานโดยมีการวางแผนและเป้าหมาย
คือ ไม่ปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามลมเพลมพัด เมื่อจะทำงานก็ควรจะถามตัวเองว่า ทำเพื่อใคร ทำอะไร ทำเมื่อใด และทำอย่างไร มีการเตรียมการล่วงหน้า กำหนดกิจกรรมต่างๆ ไว้ล่วงหน้าวิธีการดังกล่าวนี้ จะช่วยให้ก้าวหน้าอย่างมีจังหวะ และทำให้ชีวิตในแต่ละวันมีความหมายสำหรับตน
7. รู้จักบังคับใจตนเอง
คือ ทำตนให้มีความสามารถในการ “รอ” สิ่งที่ต้องการได้ ผู้ใดก็ตามถ้าไม่สามารถรอสิ่งที่ต้องการได้ นับว่ายังไม่เป็นผู้ใหญ่ ทั้งยังมีผลทำให้บุคลิกภาพด้านอื่นๆ พลอยเสียไปด้วย และแสดงว่ายังไม่พร้อมสำหรับการมีบุคลิกภาพที่ดี ความสามารถในการรอคอย ยังช่วยให้มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น และแก้ปัญหาทางอารมณ์ได้มาก เช่น สามารถรอคอยผู้ที่ผิดนัดได้
8. พยายามปรับชีวิตให้เข้ากับสังคม
คือ ทำตนให้มีความสุขในทุกสภาพของสิ่งแวดล้อม เราอาจเป็นคนชอบสันโดษ แต่ถ้าเขามีงานรื่นเริง ไม่ว่าจะในระหว่างเพื่อน ระหว่างรุ่นพี่ กับรุ่นน้อง เราก็ต้องแสดงความพอใจที่จะร่วมด้วยได้ เป็นต้น หรือเราอาจมีวิธีทำงานที่ต่างไปจากคนอื่น แต่เราก็ต้องสามารถผ่อนปรนได้บ้างโดยไม่กระทบกระเทือนถึงอิสระในความคิดอ่านของผู้อื่น
9. ฝึกความอดทนและอดกลั้นให้กับตนเอง
คือ อดทนต่อความคิดของผู้อื่นที่ขัดแย้งกับตน อดทนกับพฤติกรรมของคนบางคน อดทนกับการถูกมองข้ามในสิ่งที่ไม่อยากให้เขามองข้าม ยอมรับฟังคำวิจารณ์จากคนอื่นโดยพยายามคิดว่าคำวิจารณ์ต่างๆ เหล่านั้นจะทำให้ตนได้ปรับปรุง เรื่องที่ไม่พอใจบางเรื่องควรพยายามลืม เมื่อไม่ชอบใจใคร ไม่ควรใช้วิธีพร่ำบ่น เนื่องจากอาจสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น และพลอยทำให้ผู้อื่นมีปัญหาทางอารมณ์ไปด้วย
10. มีความสามารถในการรับและแก้ไขสิ่งที่ไม่ชอบ
คือไม่ควรหัวเสียหรือพร่ำพรรณนาในโชคชะตาของตนเองให้ผู้อื่นรับฟังไม่หยุดหย่อน เพราะไม่ว่าจะทำอะไร มีอาชีพอย่างไร อยู่ในตำแหน่งใด หรือสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับใครก็จะต้องมีสิ่งไม่ชอบรวมอยู่ด้วยทั้งสิ้น
11. ใช้ความสามารถที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง
ดังตัวอย่างในชีวิตประจำวันที่มักพบว่ามีคนมากมายที่มีทักษะทำงานเก่งแต่เก็บความรู้ความสามารถเหล่านั้นใส่ลิ้นชักไว้ แล้วทำงานเท่าที่ได้รับคำสั่งให้ทำ ทำงานเพียงเพื่อแลกกับผลตอบแทนให้พออยู่ได้ การดำเนินงานดังกล่าวนี้ มักไม่นำพาไปสู่ความก้าวหน้าหรือความสำเร็จในชีวิต
12. สร้างความรู้สึกพอใจที่จะได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ
ทั้งนี้ เพราะกฎและระเบียบทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุขถ้าหากทุกคนเคารพในกฎและระเบียบนั้น กฎเกณฑ์ใดในองค์การที่เรารู้สึกว่ามันเป็นไปได้ในแง่ของการปฏิบัติ ผู้ที่มีลักษณะเป็นผู้ใหญ่แล้วควรสามารถที่จะเสนอข้อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้โดยสันติวิธี โดยอ่อนน้อมถ่อมตน และโดยเลือกจังหวะเวลาที่เหมาะสมในการนำเสนอข้อคิดเห็นวิธีการดังกล่าวนี้จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดี ส่งผลให้ทำงานร่วมกันได้โดยราบรื่น
13. ฝึกมองทุกปัญหาให้เป็นเรื่องเล็ก
ข้อนี้อาจยากสำหรับบางคน แต่ความจริงที่จะช่วยให้ทำใจได้ก็คือ ไม่ว่าเรื่องเลวร้ายอะไรที่มันได้เกิดขึ้นในชีวิต มันได้เกิดขึ้นแล้ว และถ้ายังหาทางแก้ไขไม่ได้ มันก็ยังคงอยู่ มันไม่มีทางไปไหนพ้นจากชีวิตได้ในเวลานี้เลย เพราะฉะนั้นทางเดียวที่จะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ยังจัดการไม่ได้ก็คือ มองมันให้เป็นเรื่องเล็กที่สุด ไม่ปล่อยให้มันมาทำอะไร ให้กระทบกระเทือนชีวิตส่วนอื่นๆ เพราะมันเป็นเรื่องเล็กๆเท่านั้นเอง ต้องหมั่นทำใจว่าอะไรที่มันจะเกิด มันก็ต้องเกิด ทุกคนในโลกต่างก็มีเวลาต้องพบเจอกันทั้งนั้น ไม่ใช่คุณคนเดียวหรอก เพราะฉะนั้นวางมันลง ดำเนินชีวิตต่อไปอย่างสง่างาม บุคลิกภาพที่ดีประการหนึ่งก็คือ การที่ไม่เป็นคนตีโพยตีพายโวยวายเวลามีปัญหา
14. ควบคุมตนให้คิดถึงผู้อื่นมากกว่าคิดถึงตนเอง
เพราะเราทำดีคนอื่นก็ทำดี นี่คือแนวคิดแบบ ที่เรียกว่า I am OK, He or she OK ..นั่นคือมองตนเองด้วยการยอมรับ เข้าใจเหตุผลบนการกระทำของตนเองอย่างถูกต้อง และก็ต้องคิดเหมือนกันกับคนอื่นด้วย ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นคนประเภทที่คิดว่าตัวเองดีอยู่คนเดียว คนอื่นแย่หมด...อย่างนี้ใครๆก็ไม่อยากรัก การเข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นเหมือนกับที่เราเข้าใจตัวเอง อาจฟังเป็นเรื่องยากสำหรับบางคน แต่ถ้ามีโอกาสได้เห็นว่ากิริยาอาการของเรา เวลาที่มองการกระทำของคนอื่น ว่าไม่ดีนั้นไม่สวยงามน่ารักเอาเสียเลย ข้อนี้อาจช่วยให้สามารถฝึกนึกอย่างที่แนะนำได้ง่ายขึ้น คือ มองหาจุดอ่อนของตนเองแล้วปรับเปลี่ยน
15. การคอยสำรวจจุดอ่อนภายในตัวเองอยู่เสมอ
ควรพยายามปรับไปในทางที่ดีให้ได้ เช่น บางครั้งบางทีเราเกิดความริษยาคนอื่นขึ้นมาในใจ พอรู้สึกปุ๊บก็เปลี่ยนให้เป็นการชื่นชมยินดีกับเขาแทน มันจะช่วยให้สภาพจิตใจสดใสไม่ขุ่นมัว แสนจะดี... นอกจากนั้นก็มองส่วนอื่นในใจต่อไป เชื่อสิว่ามนุษย์เราสามารถพัฒนาปรับปรุงตนเองได้ไม่มีสิ้นสุด หมั่นทำไปเรื่อยๆแล้วจะมีความสุข โดยเฉพาะเวลาที่ใครๆรอบตัวออกปากชื่นชมให้ได้ยิน
16. รู้จักให้กำลังใจ
เวลาที่จะทำอะไรดีๆสักครั้ง แทนที่จะนั่งรอให้ใครมาชื่นชมควรรู้จักที่จะให้กำลังใจและความชมตัวเองก่อน มันจะเป็นความรู้สึกที่ดีมากเลยทีเดียว เพราะมันเป็นการแสดงออกว่าเรารู้จัก และเข้าใจตัวเองเกินกว่าที่จะต้องรอให้ใครมาใส่ใจ มันจะย้ำความเชื่อมั่นในตัวเอง และชื่นชมในความดีของตัวเองได้โดยไม่ต้องให้ใครมาร่วมรับรู้ มันแสนจะสบายใจและมีความสุขทีเดียว พร้อมๆกัน แต่ก็ต้องหมั่นรู้สึกถึงความดีที่บุคคลรายรอบตัวคุณเขาทำด้วย แม้ใครจะไม่เห็นแต่ถ้าเราเห็น อย่าลังเลที่จะแสดงความชื่นชมกับสิ่งดีๆที่เขาทำ รับรองว่าจะได้รับคะแนนนิยมจากคนรอบตัวมาโดยง่ายๆ
การพัฒนาบุคลิกภาพที่ภายนอก
บุคลิกภาพภายนอก (External Personality) เมื่อได้พัฒนาบุคลิกภาพภายในดีแล้ว ทำให้พฤติกรรมท่าทีการแสดงออกในด้านต่างๆ งดงามเหมาะสม ทำให้ได้รับความชื่นชม ยอมรับและศรัทธาจากผู้อื่นได้ดี สำหรับบุคลิกภาพภายนอกมีสาระสำคัญที่ต้องพัฒนาดังนี้
1. รูปร่างหน้าตา 2. การแต่งกาย
3. การปรากฏตัว 4. กิริยาท่าทาง
5. การสบสายตา 6. การใช้น้ำเสียง
7. การใช้ถ้อยคำภาษา 8. ศิลปะการพูด
1. ด้านลักษณะรูปร่าง
บุคลิกภาพแบบของบุคคล มีความเชื่อว่าบุคลิกภาพแต่ละบุคคลมีส่วน สัมพันธ์กับคุณสมบัติรูปร่างของบุคคล จากการสำรวจและวิเคราะห์รูปร่างของชายหนุ่มจำนวน หลายพันคนและสามารถสรุปได้ว่ารูปร่างของมนุษย์มีรูปร่างแบบพื้นฐานแบ่ง เป็น 3 แบบ คือ
1. รูปร่างอ้วน (Endomorphy) มีลักษณะรูปร่างอ้วนเนื้อนิ่ม และลำดับตัวมีขนาดกลมรูปร่างไม่ดี มีน้ำหนักมากรับประทานอาหารมากมีความเชื่องช้าอืดอาดไม่สะอาดมีเพื่อนน้อย
2. รูปร่างล่ำสัน (Mesomorphy) มีลักษณะรูปร่างแข็งแรงมีมัดกล้ามเนื้อมีการพัฒนาทางร่างกายมีกล้ามเนื้อแข็งแรงมองดูดี มีเพื่อนมากมีความประณีต มีความเร็วเป็นที่ชอบของบุคคลอื่น ชอบช่วยเหลือบุคคลอื่นๆ
3. รูปร่างผอม (Ectomorphy) มีลักษณะรูปร่างที่กล้ามเนื้อและกระดูกยังไม่รับการพัฒนาหน้าอกแบนราบลำตัวมีขนาดบางและอ่อนแอ ศีรษะจะมีขนาดใหญ่กว่าปกติมีน้ำหนักเบารับประทานอาหารได้น้อยชอบความเงียบมีความวิตกกังวลใจ มีความหวาด มีความหวาดกลัวไม่ชอบการต่อสู้
ตามทฤษฎีบุคลิกภาพรูปร่างบุคคลไว้ทั้ง 3 รูปแบบ จะพบว่ามีบุคคลเป็นจำนวนน้อยมากที่มีรูปร่างเหมือนแต่ก็ยังมีบุคคลอีกเป็นส่วนใหญ่ที่มีร่างไม่ตรงตามทฤษฎี มีข้อเสนอแนะว่า -บุคลิกภาพของบุคคลแบบรูปร่างอ้วนมีคุณสมบัติของการเข้าสมาคมและชอบการนอน การกิน ชอบให้ร่างกายสบาย และเป็นบุคคลที่มีความสุข
-บุคลิกภาพของบุคคลแบบรูปร่างนักกีฬา มีคุณสมบัติของการต่อสู้มีพลังชอบการผจญภัยชอบการออกกำลังกายและมีความกล้าหาญ
-บุคลิกภาพของบุคคลแบบรูปร่างผอมมีคุณสมบัติมีจิตสำนึกของตัวเองมีอารมณ์อ่อนไหว มีความกังวลใจชอบอยู่ตามลำพัง ชอบการใช้ความคิด อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญและควรระลึกว่าบุคคลส่วนมากจะมีรูปร่างแบบผสมตามทฤษฎีบุคลิกภาพ ถึงแม้ว่าจะมีรูปร่างไม่ดีแต่ก็สามารถปรับปรุงแก้ไขได้
2. ด้านการแต่งกาย
การแต่งกาย เป็นการแสดงออกทางด้านหนึ่งของจิตใจเกี่ยวกับอารมณ์ ความรู้สึกเจตคติ รสนิยมของ แต่ละบุคคล การรู้จักการแต่งกายดีให้เหมาะสมกับ กาลเทศะ จึงเป็นการแสดงออกถึงจิตใจที่ดีมีพื้นฐานการอบรม มาเป็นอย่างดีจากครอบครัว และสถาบันการศึกษา นอกจากนั้นยังแสดงออกถึงความมีระเบียบวินัยด้วย การแต่งกาย โดยเฉพาะหน้าตา ผม เล็บ จะต้องมีความสะอาดเรียบร้อยแต่งให้มีความพอดีกับฐานะทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ การแต่งกายเสื้อผ้า จะต้องตัดเย็บเรียบร้อย แบบเสื้อผ้าเหมาะสมกับรูปร่างมีความสะอาด มองดูแล้วเป็นที่สบายตา การใช้เครื่องประดับ ควรจะใช้เท่าที่จำเป็นและให้มีความเหมาะสมกับเสื้อผ้าที่แต่งกาย เช่น นาฬิกา แหวน สายสร้อย ตุ้มหู เป็นต้น โดยมีหลักสำคัญเกี่ยวกับการแต่งกายดังนี้
1. ความสะอาดของเครื่องแต่งกาย เป็นเรื่องที่ต้องเอาใจใส่ก่อนเป็นพิเศษเริ่มต้นด้วยเครื่องแต่งกายอันได้แก่ เสื้อผ้า ถุงเท้ารองเท้า เครื่องประดับ กระเป๋าถือ เหล่านี้ต้องสะอาด หมดจด เครื่องสำอาง ถ้าจะต้องให้มีสีสันที่พอเหมาะพอควร และส่วนของร่างกายนั้นต้องให้สะอาดหมดจดทุกส่วน ตั้งแต่ผม ปาก ฟัน หน้าตามือ แขน ลำตัว ขาและเท้า ตลอดจนเล็บมือ เล็บเท้าสิ่งที่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ คือ กลิ่นตัวต้องอาบน้ำฟอกสบู่ให้หมดกลิ่นตัว ถ้าไม่ หมดจำเป็นต้องใช้น้ำหอมก็ให้ใช้แต่พอดี อย่าให้หอมจนฉุน ชุดไม่รุ่มรามหรือรัดตัวจนเกินไปไม่ใช้สีสันที่ฉูดฉาด ไม่เป็นเสื้อที่มีรูปแบบสมัยแตกต่างกับของผู้อื่นที่ควรจะแต่งเข้าร่วมในสังคมนั้นๆ
2. ความสุภาพเรียบร้อย ในเรื่องนี้รวมไปถึงการใช้เครื่องประดับ กระเป๋าถือ ถุงน่อง รองเท้าและการแต่งหน้าแต่งผมด้วย
3. ความถูกต้องกาลเทศะการแต่งกายให้ถูกกาลเทศะเป็นเรื่องสำคัญมากผู้มีมารยาทดีย่อมต้องเอาใจใส่ในเรื่องนี้เป็นพิเศษอีกเรื่องหนึ่ง การแต่งกายให้ถูกกาล หมายถึง การเลือกแต่งกายให้ถูกต้องเหมาะสมกับเวลา ยุค และสมัยนิยมการแต่งกายให้ถูกเทศะ หมายถึง การเลือกแต่งกายให้ถูกต้องเหมาะสม กับสถานที่ที่จะไปนั้น
3. ด้านความสะอาดร่างกายเมื่อปรากฏตัวต่อหน้าผู้อื่น
ความสะอาดของร่างกาย มนุษย์ทุกคนเกิดมาต้องให้ความสำคัญกับอวัยวะทุกส่วนของร่างกายที่เน้นในเรื่องของความสะอาดเป็นสำคัญ เพราะมนุษย์เรานั้นจะเข้าสังคมจะต้องมีการติดต่อสื่อสารกับบุคคลทั่วไปสิ่งที่สำคัญที่จะต้องมองเป็นอันดับแรกความสะอาดของร่างกายอย่างเช่น ผมจะต้องไม่มีกลิ่นเหม็นและรังแค ต้องหวีผมให้อยู่ทรงเสมอ ส่วนของเล็บ จะต้องรักษาดูแลไม่ให้ยาวและดำจนดูน่าเกลียด ล้างมือก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง ส่วนของหน้าตาจะต้องดูสะอาดใบหน้าไร้สิวฝ้าหมั่นคอยดูแลอย่างสม่ำเสมอถ้าเราไม่ดูแลอวัยวะทุกส่วนของร่างกายก็ทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายของเราได้
4. ด้านการแสดงมารยาท
มารยาทนับเป็นองค์ประกอบย่อยของวัฒนธรรม ชาติไทยมีเอกลักษณ์ประจำชาติ และมีองค์ประกอบหลายอย่างซึ่งสามารถจำแนกได้ว่าเป็นคนไทย ชาติไทย เช่น ภาษา โบสถ์ พิธีกรรมบางอย่าง และมารยาทซึ่งสั่งสมมาหลายสมัย และสมควรถ่ายทอดให้เป็นมรดกสังคมต่อไป
5.ท่าทางและการเคลื่อนไหว
การมีท่าทางที่คล่องแคล่วแข็งขัน น่าจะเป็นท่าทางที่ดี มีความเป็นผู้นำ บางคนมุ่งเน้นไปที่ท่าทีภายนอก ว่าจะต้องแคล่วคล่องงามสง่า ทั้งวันจึงอาจมีการเกร็งกล้ามเนื้อ กระดูกสันหลัง และเคลื่อนไหวอย่างฝืนธรรมชาติ ได้ผลทางด้านความสง่า แต่มีผลร้ายทางสุขภาพหรือเปล่า บางทีเรื่องนี้ก็น่าใส่ใจ ซึ่งในขณะเดียวกัน ควรเรียนรู้การวางท่าทางให้ถูกวิธีเพื่อบุคลิกภาพและสุขภาพที่ดีในวันข้างหน้า
1. ท่านั่ง
เวลานั่ง ลำตัวต้องตรง เก้าอี้ที่นั่ง เวลานั่งแล้วต้องรู้สึกสบาย และสมส่วน หัวเข่างอระหว่าง 90-105 องศา ถ้าต่ำไปให้หาที่วางเท้า เก้าอี้ต้องมีพนักพิงหลังรองรับ โดยความสูงต้องไม่ต่ำกว่าบริเวณกระดูกสะบัก แต่ถ้านั่งแล้วหลังไม่แตะพนักพิง ให้แก้ได้โดยหาหมอนอิงมาวางไว้ด้านหลัง เก้าอี้ต้องมีพนักวางแขน เพื่อช่วยรองรับข้อศอก ท่านั่งที่ผิดมักทำให้มีอาการปวดหลัง
2. การยืน
ต้องยืนตัวตรง คนที่ยืนตัวตรงได้สง่างามย่อมมีราศีและความสำคัญในตัวเสมอ โดยยืนให้ลำตัวตรง ส่วนสะโพก หน้าอก และศีรษะเป็นเส้นตรงแนวเดียวกันโดยมีกระดูกสันหลังเป็นแกนกลาง ยืนตรงเท้าชิดกันหรือห่างแต่เพียงเล็กน้อยอย่าเกร็งขา อย่าพักขาหรือเข่า หรือปล่อยให้อกยื่น สะโพกยื่น หน้าอกควรยืดตรง ไม่ห่อไหล่ หลังไม่ห่อไม่งองุ้ม ไม่ยืนกอดอก ไม่เท้าเอว ไม่เอามือล้วงกระเป๋ากระโปรงหรือกางเกง เพราะดูแล้วไม่สุภาพ หน้าทองต้องเก็บ หายใจเข้าออกสบายๆ ปล่อยวางร่างกายให้เป็นธรรมชาติ
3. การเดิน
ต้องถ่ายน้ำหนักลงที่เท้าทั้งสองข้างเท่าๆ กัน ลำตัวตั้งตรง ไม่ต้องเกร็ง อกผาย ไหล่ผึ่ง ร่างกายจะจัดความสมดุลได้เอง หากเราเหยียดตัวตั้งตรงและอกผายไหล่หึ่ง ไม่ไหล่ห่อไหล่งอ เมื่อจะเริ่มเดิน ก้าวเท้าข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหน้า ลำตัวยังต้องตั้งตรงเช่นเดิม ผ่อนคลายร่างกายด้วยการไกวแขนตามสบาย แต่วงของการไกวอย่ากว้างจนเกินไป เพราะอาจไปกระทบหรือปะทะกับคนอื่นๆ ความกว้างของการก้าวก็ต้องพอเหมาะพอดีกับวามยาวของช่วงขา งอเข่าเล็กน้อยเมื่อยกเท้าก้าว ตามองตรง และเพื่อไม่ให้เป็นผลร้ายกับกระดูกสันหลัง อย่าถือหรือหอบข้าวของพะรุงพะรัง อย่าสะพายกระเป๋าที่มีน้ำหนักมากจนเกินไป รองเท้าที่เลือกสวม ต้องไม่คับหรือหลวม หรือมีส้นสูงจนมีผลต่อการทรงตัว ทำให้การทรงตัวไม่ดี
4. การแต่งกาย
“ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง” สำนวนนี้มีความสำคัญ เพราะเสื้อผ้านับเป็นภาษาทางกายอย่างหนึ่ง ที่เมื่อใครก็ตามได้พบเห็นเขาสามารถจะคิด จะรู้สึก หรือแปลเป็นความหมายต่างๆ ได้สารพัด อย่างน้อยที่สุด เสื้อผ้าจะบอกได้ว่าเราให้เกียรติตัวเองหรือไม่ ให้เกียรติสถานที่ที่ไปหรือไม่ ให้เกียรติหน่วยงานหรือองค์กรที่สังกัดเพียงใด ดังนั้นเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายจะเป็นตัวช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้ดูดีขึ้นหรือแย่ลงได้ ดังนั้น การเลือกสวมใส่เสื้อผ้าจะต้องเลือกจาก
1. เป็นตัวเองและมีสไตล์ที่เหมาะสม
2. วาระและสถานที่ (ตามกาลเทศะ)
3. สะอาด สุภาพ และสวยงาม
5. การทักทาย
สิ่งแรกสำหรับการเริ่มต้นการทักทายคือ รอยยิ้มที่แสดงออกถึงความเป็นมิตรก่อนที่จะกล่าวทักทายตามความเหมาะสมกับบุคคลและสถานที่ ซึ่งหัวใจของการยิ้มมีดังนี้
1. จงทำตัวให้ผ่อนคลาย แสดงความเป็นมิตรและยืนยันท่าทีดังกล่าว ด้วยรอยยิ้ม
2. รอยยิ้มที่ใครก็อยากเห็นคือ รอยยิ้มที่จริงใจ
3. รอยยิ้มที่ดีต้องเกิดจากการมองโลกในแง่ดี และความเบิกบานภายใน เพราะรอยยิ้มที่กลั่นมาจากความรู้สึกดังกล่าวจะดูร่าเริงสดชื่นและมีมนต์ เสน่ห์แก่ผู้พบเห็น
4. รอยยิ้มเป็นภาษาทางกายและกิริยาอื่นๆ ที่ไม่ต้อง “มากเกินไป” ยิ้มด้วยความผ่อนคลาย ยิ้มด้วยใจสบาย ไม่มีความวิตกกังวลหรือกระวนกระวาย แต่จงยิ้มด้วยความเชื่อมั่น พึงระลึกไว้ว่ารอยยิ้มบ่งบอกถึงความจริงใจ เป็นรอยยิ้มที่สร้างมิตรภาพน่าจดจำ และดึงดูดผู้คนได้มากที่สุด 5. รอยยิ้มต้องเริ่มต้นจากความเป็นมิตร เมื่อใดที่รู้สึกเป็นมิตรเกิดขึ้นจงสื่อสารออกมาเป็นรอยยิ้ม จงฝึกตนเองให้มีความเป็นมิตร และยิ้มออกมาเพื่อสร้างมิตรจากใจจริง
ท่วงท่าที่ดีต้องมีความเป็นธรรมชาติ เพราะเรื่องของบุคลิกภาพนั้น เป็นเรื่อง ที่เน้นความเป็นธรรมชาติ ไม่เน้นการปรุงแต่งอย่างแข็งขืน ดังนั้น ความเข้าใจว่า เราต้องเก๊กท่าเก๊กทาง อย่างนั้นอย่างนี้ตลอดทั้งวันจึงไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ไม่ใช่ความงามสง่า แต่เป็นการเก๊กท่าที่ดูไม่เป็นธรรมชาติ
วิธีสังเกตพฤติกรรม และท่วงท่าเพื่อปรับเปลี่ยนให้คุณมีบุคลิกที่ดี และมีเสน่ห์กว่าที่เคยเป็น คือ หากระจกเงาบานใหญ่ แนวตั้ง สีเหลี่ยมผืนผ้าตั้งไว้ด้านหน้า พิงผนังหรือกระจกเงาแบบมีขาตั้ง
• เดินจากจุดเริ่มต้นไปหากระจกเงา และมองที่กระจกนั้น จะเห็นท่วงท่าของตัวเอง จุดที่ต้องแก้ไข
• ทำใจยอมรับว่าตัวตนของตัวเองเป็นแบบนี้ จะปรับเปลี่ยนอย่างไรมองเห็นจุดที่ควรปรับเปลี่ยนผ่าน กระจกเงา
• หมั่นฝึกท่วงท่า และยอมปรับตัวเอง อาจจะต้องปรับให้ดูเหมาะสมและดูดียิ่งๆ ขึ้น
• กล้าแสดงออกในส่วนที่ไม่เคยเป็น และเคยชิน เพื่อความดูดี และบุคลิกใหม่ที่น่ามอง
“ เวลามองตัวเองในกระจกเงาแล้ว เห็นจุดบกพร่องที่ควรจะมองเพื่อแก้ไข ” บางครั้งเราเคยชินกับการที่เป็นแบบนี้มานาน หรืออาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ที่เราเติบโตมา เช่น เดินท่าเหมือนพ่อ กิริยาท่าทางเหมือนแม่เป็นได้ทั้งหญิงและชาย พฤติกรรมในการเดิน การนั่ง การยืน ล้วนถูกปลูกฝัง
ตัวอย่างแนวทางการพัฒนาตนเองเรื่องแรกมาดูที่ทรงผมกันก่อนนะคะ
การจัดทรงผม
ลองคิดดูว่า หากคุณต้องการติดต่อกับคุณ ก เพื่อขอข้อมูล เมื่อคุณเดินเข้าไปในห้องคุณ ก แล้วเหลือบมองขึ้นไปที่ทรงผมที่รกรุงรัง ดูเหมือนว่าจะลืมหวีผม ผมเผ้ายุ่งเหยิง คุณจะรู้สึกอย่างไร? แน่นอนว่าหลายคนคงจะไม่ยากคุยด้วย หรือ รีบ ๆ คุยเพื่อให้เสร็จธุระของตน เหตุเพราะดูเหมือนว่าผู้ให้บริการจะไม่ค่อยเต็มใจหรือขาดความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือหรือให้ข้อมูลที่ตนต้องการ…. เห็นไหมค่ะว่า คุณจะเสียลูกค้าไปโดยคิดไม่ถึงเลยเชียว
แนวทางพัฒนาตนเอง : ก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง ควรสังเกตการจัดทรงผมของตนว่าเรียบร้อยหรือไม่ ทั้งนี้ขอให้คุณเลือกทรงผมให้เหมาะสมกับกาลเทศะ โอกาส และบุคลิกภาพของตนเองด้วย เช่น หากเที่เป็น (ผู้หญิง) จะเข้าพบลูกค้าที่เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กร คุณไม่ควรเลือกแต่งทรงผมแบบเอากิ๊บมาติดไว้ข้างๆ หู เพราะคิดว่าจะได้ดูอาโนะเน๊ะ ผู้ใหญ่จะได้เอ็นดูเรา ขอบอกได้เลยค่ะว่า “ คิดผิด ”
อันที่จริงควรหวีผมให้เรียบร้อย หากผมยาวควรเก็บผมข้างหูหรือจะผูก หรือเก็บให้เรียบร้อยจะดูดีกว่า
การแต่งกาย
คุณจะรู้สึกอย่างไร หากหัวหน้างานเดินเข้าทักทาย ในขณะที่เสื้อหลุดลุ่ย หรือเพื่อนร่วมงานใส่เสื้อผ้าที่มีกลิ่นเหม็นอับ หรือลูกน้องใส่เสื้อผ้าดูเซ็กซี่ กระโปรงสั้นจู๋ เสื้อแขนกุด มีเว้าๆ แวม ๆ พบว่าการแต่งกายเช่นที่ว่านี้จะทำให้เกิดความคิดมากมายของผู้พบเห็นที่มีต่อการแต่งกายเช่นนั้น บางคนอาจคิดอนาจาร จินตนาการเลยเถิด หรือ ลูกค้าบางคนอาจไม่ชอบใจพลอยทำให้ไม่อยากพูดคุยด้วยก็เป็นได้
แนวทางพัฒนาตนเอง : การแต่งกายถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก คุณควรเลือกใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสมกับรูปร่างและบุคลิกลักษณะของตน ทั้งนี้ขอให้ดูความเหมาะสมของบุคคลและสถานที่ที่คุณจะเข้าไปพบด้วย เช่น บริษัทอนุญาตให้แต่งชุดฟรีสไตล์มาทำงานในวันศุกร์ได้ คุณก็กลับใส่กางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุด ไปหาลูกค้าภายนอก เหตุเพราะบริษัทให้แต่งกายแบบสบาย ๆ ในวันนั้นได้?? นอกจากการเลือกซื้อเสื้อผ้าให้เหมาะสมแล้ว คุณควรจะดูแลสภาพความเรียบร้อยของเสื้อผ้าที่แต่งด้วย ควรจะรีดและจัดเสื้อให้เรียบร้อย ที่สำคัญคุณไม่ควรปล่อยให้เสื้อผ้าส่งกลิ่นเหม็นอับหรือมีกลิ่นที่ไม่น่าพึงประสงค์ออกมา
การเดินนั่งและยืน
ท่าเดิน นั่ง และยืน จะบ่งบอกได้ถึงลักษณะนิสัยใจคอของคุณว่าคุณเป็นคนอย่างไร มีอารมณ์ ความรู้สึก และความต้องการเป็นอย่างไร คนบางคนเดินแกว่งแขนไปมา มีการยกไหล่เล็กน้อยในขณะแกว่งแขน พบว่าท่าเดินแบบนี้ดูเหมือนจะหาเรื่องใส่ตัวเอง บอกให้คนอื่นรู้ว่า “ ข้าใหญ่ ข้าแน่” ในขณะที่คนบางคนยืนหรือเดินห่อไหล่ แบบหมดอาลัยตายอยาก พบว่าท่าเดินแบบนี้จะแสดงให้เห็นว่าคนๆ นั้นเป็นคนที่ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่กล้าที่จะแสดงออก… แล้วคุณยังอยากจะมีท่าเดิน นั่ง และยืนแบบนี้หรือไม่
แนวทางพัฒนาตนเอง : การพัฒนาตนเองด้วยท่าเดิน นั่ง และยืนที่ดูดีจึงเป็นสิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เพราะการแสดงออกเหล่านี้จะบ่งบอกถึงบุคลิกภาพที่มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเอง หลักง่าย ๆ ของการเดิน นั่ง และยืนที่ดูดีก็คือ ยืดตัว หน้าตรง เดินแกว่งแขนไปมาเล็กน้อย ทั้งนี้การมีท่าเดิน นั่ง และยืนที่ถูกลักษณะ นอกจากจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของตนเองแล้ว ยังส่งผลดีต่อสุขภาพของคุณเอง ไม่เป็นโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก เช่น ปวดหลัง ปวดข้อต่อ เป็นต้น
การใช้สายตา และแววตา
หากคุณคุยอยู่กับใครสักคน แล้วเค้ามองออกไปที่อื่น แลดูเหมือนจะสนใจคนอื่นมากกว่าตัวคุณเอง หรือคนบางคนที่คุณคุยด้วยมีแววตาเศร้าหมอง สลดหดหู่ สีหน้าอิดโรย ดูแล้วเหมือนจะไม่ได้หลับได้นอน และยิ่งถ้าคุณเจอลูกน้อง ลูกค้า หรือหัวหน้างานมีสายตาและแววตาเช่นที่ว่านี้ คุณจะรู้สึกอย่างไร คงจะมีน้อยคนนักที่ยังอยากจะคุยกับบุคคลเหล่านี้ด้วย เฉกเช่นเดียวกันค่ะ หากคุณแสดงออกด้วยสายตาและแววตาเช่นนี้ ก็คงจะมีคนบางคน หรือหลายคนที่ไม่อยากจะคุยด้วย
แนวทางพัฒนาตนเอง : สายตาและแววตาที่แสดงออกมาจะเป็นเสน่ห์ดึงดูดใจผู้อื่นได้ ดังนั้นสิ่งแรกเลยก็คือ คุณจะต้องสบตากับผู้ที่พูดด้วย ไม่หลบหรือหลีกเลี่ยงการปะทะสายตา การสบสายตานั้นมิใช่การจ้องมองแบบเอาเลือดเอาเนื้อ ควรเป็นการแสดงออกด้วยความรู้สึกเอาใจใส่ และความปรารถนาที่อยากจะพูดคุยด้วย รวมถึงการมีแววตาที่พร้อมจะให้ความช่วยเหลือ ความเป็นกันเอง และความร่วมมือต่าง ๆ ดังนั้นการนอนหลับพักผ่อน การดูแลสุขภาพของตน และการมีสภาพจิตใจที่ดีจะช่วยทำให้คุณสามารถมีสายตาและแววตาที่ดี สดใส และแจ่มใสอยู่เสมอ
การใช้คำพูด และน้ำเสียง
คงไม่มีใครชอบพูดคุยกับคนที่ใช้น้ำเสียงหรือคำพูดที่ไม่ถูกกาลเทศะ คนบางคนทำร้ายตนเองด้วยคำพูดและน้ำเสียงที่สื่อออกมา เป็นคำพูดที่แสดงความไม่สุภาพ ก้าวร้าว สักแต่ว่าจะพูด โดยไม่คำนึงว่าผู้ฟังจะรู้สึกอย่างไร เช่น หากหัวหน้าพูดกับคุณว่า “ พูดหลายหนแล้วนะงานนี้ สอนแล้วไม่รู้จักจำ มีสมองไว้คั่นหูหรือไงเนี่ย” ถ้าคุณได้ยินคำพูดแบบนี้ คุณจะรู้สึกอย่างไร?
แนวทางพัฒนาตนเอง : มีหลากหลายวิธีเพื่อป้องกันมิให้คุณตายเพราะคำพูด ทางแรกคือ นิ่งเงียบ ใช้สถานการณ์ของการเงียบสยบความรู้สึก ไม่พูดจะดีกว่าพูดออกมา แต่ถ้าคุณรู้สึกอึดอัดใจทนไม่ไหวจะต้องพูดแล้วล่ะก็ ดิฉันขอให้เลือกใช้คำพูดแบบบัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่นจะดีกว่า หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดดูถูกดูหมิ่น เหน็บแนม หรือใช้คำพูดก้าวร้าว เอ๊ะอะโวยวาย
การแสดงพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ธรรมดา
การแสดงพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการเอามือล้วงกระเป๋า ผิวปาก หรือยักคิ้ว ยักไหล่ เวลาพูดคุยกับผู้อื่น หรือแสดงพฤติกรรมอื่น ๆ ที่แปลกไปจากคนอื่น ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้ดูแล้วเสียบุคลิกภาพ เสียภาพลักษณ์ ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ ขาดความเลื่อมใสและศรัทธาต่อผู้พบเห็น
แนวทางพัฒนาตนเอง : คุณควรสังเกตตนเองว่าได้แสดงพฤติกรรมผิดปกติที่แปลกไปจากคนอื่นหรือไม่ รวมถึงการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ควรต่อว่าหรือแสดงความโกรธเคือง หากมีเพื่อน หรือบุคคลอื่นตักเตือนหรือบอกกล่าวว่าคุณแสดงพฤติกรรมบางอย่างที่ไม่ควรทำ ซึ่งคุณอาจแสดงจนเป็นนิสัยไปแล้ว แต่ทว่าพฤติกรรมเหล่านี้จะไม่ส่งผลดีต่อภาพพจน์และบุคลิกภาพของตนเอง ดังนั้นคุณควรพยายามที่จะละเลิก และยกเลิกการแสดงออกถึงพฤติกรรมที่ไม่ดีเหล่านั้น พฤติกรรมบางอย่างอาจใช้เวลา แต่ก็ยังดีกว่าที่คุณไม่เคยให้เวลาและใส่ความพยายามที่จะละทิ้งพฤติกรรมเหล่านั้นลงไป
ดังนั้นการมีบุคลิกภาพที่ดี ย่อมส่งผลโดยตรงต่อภาพพจน์ที่ดีที่มีต่อสายตาของลูกค้า ถือว่าเป็นภาพภายนอกที่คุณจะต้องแต่งแต้ม เติมสีสรรเข้าไป เพื่อให้ลูกค้าชอบและประทับใจ และนั่นหมายความว่า คุณจะเป็นผู้หนึ่งที่สามารถผูกจิต ผูกใจลูกค้าด้วยภาพลักษณ์ภายนอกที่คุณเองเป็นผู้สร้าง
การพัฒนาบุคลิกภาพและการแต่งกาย
โดย กรรณีย์ ถาวรสุข
บุคลิกภาพในทางสังคมหมายถึง ภาพของแต่ละบุคคลที่ปรากฏในด้านการแต่งกาย ท่วงทีกริยา การแสดงออก ที่จะทำให้ผู้พบเห็นเกิดความประทับใจทั้งในด้านบวกหรือด้านลบ ผู้ที่ปรากฏกายอย่างดีทั้งด้านการแต่งกายและมารยาทสังคมอันดี จะเป็นที่ประทับใจใคร่คบหาสมาคมนิยมชมชื่น
บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่ที่สามารถพัฒนาได้ด้วยการฝึกฝน เช่น การฝึกท่วงทีกิริยาที่ดูดี แต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะ การมีมารยาทสังคมที่ดี
เราสามารถสร้างเสริมบุคลิกภาพได้
การเสริมสร้างบุคลิกภาพสามารถพัฒนาได้ ตั้งแต่การเคลื่อนไหว การทรงตัว การพูด ความสะอาดหมดจด ความนึกคิดที่ดี ซึ่งสามารถฝึกฝนได้ดังนี้
การนั่ง ควรนั่งไหล่ตรง หลังตรง วางมือในที่อันควร
การยืน ควรยืนตัวตรง อกผายไหล่ผึ่ง ขาตรง เท้าชิด หรือเบี่ยงเล็กน้อย
การเดินและการเคลื่อนไหว ควรเดินตัวตรง ศีรษะตั้งตรง แกว่งแขนเล็กน้อย
การหยิบของที่พื้น
ควรย่อตัวลงหยิบ ไม่ใช่ก้มตัวลงหยิบ
การพูด
ควรพูดด้วยจังหวะที่ดี ใช้น้ำเสียงที่จริงใจ ให้ความรู้สึกเป็นมิตร
การแสดงสีหน้า ควรแสดงสีหน้าปกติไม่แสดงความยินดี โกรธหรือเย็นชาจนเกินไป
การคิด ควรคิดแต่สิ่งที่ดี ไม่หมกมุ่นอยู่กับความทุกข์
การรักษาสุขภาพและความสะอาด
ควรรักษาน้ำหนักให้เหมาะสมกับความสูง รักษาสุขภาพกายและจิตให้ดีอยู่เสมอ รักษาความสะอาดของร่างกาย สุขภาพที่ดีจะส่งผลให้บุคลิกภาพดีด้วยเช่นกัน
การแต่งกายให้เหมาะสมกับกาละและเทศะ
การแต่งกายให้เหมาะสมกับกาละและเทศะจะหมายถึง การใช้เสื้อผ้ารวมถึงเครื่องประดับตกแต่งร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า โดยให้เหมาะสมกับกาละ คือเหมาะสมกับเวลากลางวัน กลางคืน งานเลี้ยงต่างๆ
และเหมาะสมกับเทศะคือเหมาะสมกับสถานที่เช่น สถานที่ราชการ โรงเรียน โรงภาพยนตร์ เป็นต้น
ความสำคัญของการแต่งกาย
ความสำคัญของการแต่งกายก็มีด้วยกันอยู่หลายประการ เช่นเพื่อป้องกันอันตราย เห็นได้จากการใส่เสื้อผ้าเพื่อป้องกันความหนาว การใส่เสื้อแขนยาวเพื่อป้องกันแสงแดด
หรือแต่งกายเพื่อดึงดูดความสนใจและความสวยงาม
แต่งกายเพื่อแสดงฐานะทางสังคม เช่นเครื่องแบบนักศึกษา ข้าราชตำรวจ หรือการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าและเครื่องประดับราคาแพงก็สามารถบ่งบอกถึงฐานะทางสังคมได้เช่นกัน
นอกจากนี้การแต่งกายยังบ่งบอกถึงขนบธรรมเนียมและความสุภาพ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็มีลักษณะแบบแผนของตนเอง อย่างเช่นธรรมเนียมตะวันตกถ้าเป็นงานพิธีการจะต้องแต่งกายครบเครื่อง สวมถุงน่อง รองเท้า หมวก ถุงมือ
แต่ถ้าเป็นธรรมเนียมไทยเราจะสวมชุดสุภาพหรือชุดไทยเมื่อไปวัด
ประเภทของการแต่งกาย
โอกาสปกติ การแต่งกายในโอกาสปกติ ได้แก่การไปทำงาน ประชุม สอบสัมภาษณ์ ควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามสมัยนิยมเหมาะกับสถานที่และสภาพอากาศ
โอกาสพิเศษ
งานทั่วไป ถ้าในบัตรเชิญกำหนดว่าแต่งกายตามสบาย casual dress หรือ casual clothes สุภาพบุรุษเสื้อเชิ้ตผูกเนคไทสวมสูททับ สุภาพสตรีสวมกระโปรงตามสมัยนิยมหรือสวมกระโปรงยาวที่ดูหรูหรา ถ้าเป็นงานเลี้ยงรับรองหรือ cocktail สามารถสวมกระโปรงฟูได้เพราะเป็นการยืนรับประทาน
งานราตรีสโมสร มักกำหนดว่าเป็น Formal even wear
สุภาพบุรุษจะแต่งกายครบเครื่องเต็มยศ ประกอบด้วยสูท กางเกง เสื้อเชิ้ต เสื้อแค่เอว ผ้าคาดเอว โบว์ไท รองเท้าสีดำ
ส่วนสุภาพสตรีสวมชุดยาวเปิดไหล่ หรือเสื้อแขนยาวมีการตกแต่งหรูหรา หรืออาจใช้ชุดไทยจักรี ชุดไทยบรมพิมาน
งานพิธีการ เช่นงานพระราชทานปริญญาบัตร งานพระราชพิธี งานที่เป็นทางการ การแต่งกายต้องเป็นไปตามกำหนด เช่นชุดปกติขาว ชุดสากล ชุดไทยต่างๆ สุภาพสตรีไม่ควรสวมกระโปรงสั้นหรือยาวเกินไป
งานทำบุญที่วัด ควรแต่งกายสุภาพมิดชิด สีสันไม่ฉูดฉาด เหมาะกับรูปร่างและผิวพรรณ ในกรณีของงานศพสุภาพบุรุษควรใส่ชุดสูทสีเข้ม สวมเชิ้ตขาว เนคไทสีดำ รองเท้าถุงเท้าสีดำ ถ้าเป็นพิธีพระราชทานเพลิงศพ ข้าราชการใส่ชุดปกติขาวสวมแขนทุกข์ สุภาพสตรีสวมชุดดำแบบสุภาพ ไม่ควรมีลวดลาย
ยามพักผ่อน แต่งกายให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมเช่นเวลาอยู่บ้าน แต่งตามความชอบส่วนตัวแต่ควรเป็นผ้าเบาสบาย การไปเที่ยวแต่งให้เหมาะกับสถานที่เช่นไปทะเล ปีนเขาควรใส่กางเกง เวลาเล่นกีฬาควรสวมชุดกีฬาเพื่อความเหมาะสม
เครื่องแต่งกายมาตรฐานสุภาพสตรี
เสื้อผ้า(Garment) เสื้อผ้าสุภาพสตรีที่เป็นมาตรฐานได้แก่
Basic suit เป็นชุดคนละชิ้น แบบเรียบ ตัดเย็บดี สวมใส่ได้รูป สีเบสิค( พื้น) ใช้ผ้าทำกระดุม ใช้อุปกรณ์ประกอบการแต่งกายได้หลายแบบ
Basic dress เป็นชุดติดกันแบบเรียบๆ มีรายละเอียดหรูกว่า Basic suit ใช้ได้หลายโอกาส ใช้ได้กับเครื่องประดับหลากหลาย
Suit dress เป็นเสื้อสองชั้น ข้างในเป็นชุดติดกัน (Dress) และมีเสื้อนอก(Jacket) สวมทับ กลางวันใช้เป็นสูท กลางคืนถอดสูทออกไปงานเลี้ยงได้ เครื่องประกอบการแต่งกาย(Accessories)
กระเป๋าถือ อาจทำจากผ้าหรือหนัง ควรเลือกสีกลางๆ เพราะสามารถใช้เข้ากับชุดและรองเท้าได้หลากหลาย
รองเท้า ควรมีอย่างน้อยสองคู่ เช่นดำกับน้ำตาลหรือครีม เพื่อเลือกใส่ให้เข้ากับชุด ถ้าเป็นไปได้ควรมีรองเท้าห้าคู่ขึ้นไปคือ รองเท้าส้นแบนเช่น รองเท้าผ้าใบ รองเท้าแตะ รองเท้ามีส้นปานกลางสองคู่สำหรับใส่ทำงาน และรองเท้าแบบเรียบแต่หรูสำหรับใส่ไปงาน ควรเลือกใช้รองเท้าให้เหมาะสมกับกาลเทศะ เช่นเวลาไปทำงาน ประชุมควรใส่รองเท้าหุ้มส้น ส้นเตี้ย แบบเรียบๆเวลาเล่นกีฬาควรใส่รองเท้ากีฬา รองเท้าหุ้มส้นที่มีพื้นยางเพื่อป้องกันการลื่น ในโอกาสพิเศษหรืองานเลี้ยงควรสวมรองเท้าส้นสูงแบบเรียบหรู เวลาเลือกซื้อรองเท้านอกจากความสวยงามแล้วควรคำนึงถึงความสบายในการสวมใส่ด้วย
หมวก ในประเทศไทยเราส่วนใหญ่การสวมหมวกเพื่อป้องกันแดดและลม ดังนั้นการมีหมวกหนึ่งหรือสองใบก็เป็นการเพียงพอ ควรเลือกสีกลางๆเช่น เทาหรือสีเนื้อเพราะสามารถใส่ได้ทุกโอกาส
ถุงเท้า ควรสวมเมื่อใส่ไปในงานที่เป็นทางการหรือพิธีการ และขณะเล่นกีฬา ควรเลือกสีกลางๆทำจากวัสดุที่นุ่มใส่สบาย
เข็มขัด ควรเลือกสีให้เหมาะกับเสื้อผ้าและรองเท้า
เครื่องประดับ(Jewelry) จะมีสองลักษณะคือ
Costume jewelry คือเครื่องประดับที่ออกแบบเพื่อให้สวมเข้าชุดกับเสื้อผ้า ทำจากวัสดุที่มีราคาไม่มาก Fine jewelry ทำจากวัสดุที่มีราคา จำพวก ทอง และอัญมณีที่มีราคา เครื่องแต่งกายมาตรฐานสุภาพบุรุษ
เสื้อผ้าสุภาพบุรุษ สูท ประกอบด้วยเสื้อนอกและกางเกงสีเดียวกัน บางครั้งมีเสื้อกั๊กประกอบด้วย สูทจะเปลี่ยนไปตามแฟชั่น บางครั้งปกใหญ่หรือปกเล็ก ตัวสั้นหรือตัวยาว กระเป๋าตรงหรือเฉียง กะดุมแถวเดียวหรือสองแถว ควรเลือกตามสมัยนิยม
สูทในงานพิธีการ(Formal Evening Wear) บางครั้งเรียกว่า Black Tie ประกอบด้วยเสื้อสีดำปกแบะทำจากผ้าต่วน หรือ ทักซีโด และเชิ้ตแขนยาว ผูกโบว์ไทสีดำ และถ้าเป็นงานพิธีการมากๆ จะสวมเสื้อนอกที่มีด้านหลังยาว
เบลเซอร์ (Blazer) เป็นเสื้อนอกที่ใช้สวมทับเสื้อเชิ้ต แต่ไม่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับกางเกงสีเดียวกันหรือผ้าชนิดเดียวกัน เสื้อผ้าและเครื่องประกอบการแต่งกาย
เสื้อเชิ้ต มีด้วยกันหลายแบบ Dress shirt เป็นเชิ้ตทั่วไปแต่ค่อนข้างเป็นทางการ มักผูกเนคไทประกอบ
Work shirt เป็นเชิ้ตสำหรับใส่ทางการไม่ต้องผูกเนคไท สำหรับใส่ทำงานที่ต้องใช้แรงงาน Sport shirt เป็นผ้ายืดหรือผ้าทอสีพื้นและลายทางรวมถึงเสื้อโปโลที่สวมทางศีรษะ
Formal shirt เป็นเชิ้ตใช้กับงานพิธีการมักเป็นสีพื้นและจับพลีทที่อก
กางเกง มีด้วยกันหลายแบบเช่น ขาตรง ขาบาน ขาแคบ เป้าตึงและเป้าหย่อน ควรเลือกใช้ตามสมัยเช่นกัน
รองเท้า ควรมีอย่างน้อยสองคู่สำหรับใส่ไปทำงาน ควรเป็นสีดำหรือน้ำตาลแบบเรียบร้อย เลือกใส่ให้เหมาะสมกับเสื้อผ้า จะเป็นแบบสวมหรือผูกเชือกก็ได้ แต่ถ้าเป็นการแต่งเครื่องแบบเต็มยศควรเลือกใช้รองเท้าผูกเชือกสีดำ ในยามพักผ่อนควรใช้รองเท้าสาน ส่วนในการเล่นกีฬาควรใช้รองเท้าผ้าใบ
ถุงเท้า ควรเป็นสีเดียวกับรองเท้า หรือใช้ถุงเท้าสีเข้มกับรองเท้าดำ ส่วนรองเท้าสีน้ำตาลสามารถใช้สีเนื้อได้ ไม่ควรใช้ถุงเท้าสีสดจนเกินไป ในงานศพควรใช้รองเท้าดำและถุงเท้าดำเท่านั้น
ผ้าเช็ดหน้า ควรเลือกสีกลางๆ เช่น ดำ เทา น้ำเงิน น้ำตาล ครีม น้ำเงิน เพราะเข้ากับเสื้อผ้าได้ทุกสี
บุคลิกภาพที่ดี...เป็นใบเบิกทางสู่ความสำเร็จ
“บุคลิกภาพเป็นสิ่งที่สามารถสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้” เป็นคำยืนยันจาก นายแพทย์บุตร ประดิษฐวณิช จากเมื่อครั้งแรกที่หนังสือ ‘ขุมทองในบุคลิกภาพ’ ถูกตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.2511 จนถึงการพิมพ์ในครั้งที่สาม พ.ศ.2533 โดยสำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง หรือแม้กระทั่งในปัจจุบันคำกล่าวนี้ยังคงใช้ได้ดีแม้กาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงสังคมก็เปลี่ยนไป ทั้งนี้หลักคิดในการสร้างเสริมบุคลิกภาพนั้นนายแพทย์บุตร ประดิษฐวณิช ประมวลไว้เป็น 3 หัวข้อใหญ่ คือ
1. ต้องทราบว่าบุคลิกภาพคืออะไร มีลักษณะอย่างไรในการทำงานร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งการจูงใจผู้อื่นตลอดจนการปลุกใจตนเองนั้นจะต้องสร้างบุคลิกภาพอะไรบ้าง
2. ต้องทราบวิธีสะสมบุคลิกภาพที่พึงปรารถนา
3. ต้องทราบวิธีฝึกฝนให้เกิดบุคลิกภาพที่ยังขาดไป หรือมีกำลังอ่อนจนกลายเป็นนิสัยที่เคยชิน
ตัวอย่างบุคคลที่ผ่านการฝึกตนตนเองให้กลายเป็นผู้มีบุคลิกภาพดีอาทิเช่น
ธีโอดอร์ รูสเวลท์ อเมริกาไม่ได้สร้างเขาขึ้นมา แต่เขาสร้างตัวของเขาเอง จากเด็กหนุ่มขี้อายขี้ตื่นมาเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา เดิมทีเขาเป็นเด็กหนุ่มรูปร่างอ่อนแอ้นคล้ายผู้หญิง แถมสายตาสั้นและเป็นหืด มีกำเนิดรกรากอยู่ที่ลองไอส์แสนด์ในสหรัฐ เป็นคนที่ถูกครูออกปากว่าไม่มีแววเอาถ่านอะไรเลย สติปัญญาก็โง่ทึบผิดวัยเด็กหนุ่มขนาดนั้น อย่างไรก็ดีเขาตระหนักตนเองได้ว่าเป็นคนมีบุคลิกลักษณะที่ด้อยกว่าคนอื่นหลายประการ ซึ่งทำให้เขารู้สึกไม่พอใจตัวเองอยู่แล้วทุกครั้งที่มีผู้กระตุ้นปมด้อยของเขา ยิ่งถูกนำไปเปรียบเทียบกับคนอื่นยิ่งประทับความทรงจำอับปวดร้าวให้รุนแรงมากยิ่งขึ้น
รูสเวลท์พลิกวิกฤตเป็นโอกาส กลับสร้างทิฐิมานะในทางสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น ด้วยการแก้ไขลักษณะที่บกพร่องของตน ตั้งหน้าตั้งตาเสริมบุคลิกลักษณะที่เห็นว่าด้อยให้ดูเข้มแข็งขึ้น ทั้งจากากรรค้นคว้าอ่านตำรับตำรา สังเกตบุคลิจากผู้ใหญ่ซึ่งได้รับการเคารพยอมรับจากคนทั้งหลาย หลายปีผ่านไปเด็กหนุ่มขี้ตื่นกลัว อ้อนแอ้น เบาปัญญา ผลักดันตนเองขึ้นมาเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของอเมริกันชนและเป็นผู้นำอเมริกันคนเดียวที่ประชาชนของเขายอมยกนิ้วว่าเป็นผู้นำที่แข็งแกร่งและมีความเชื่อมั่นในตัวเองมากที่สุดเท่าที่อเมริกาเคยมีมา
ยอร์ช วอชิงตัน จากเด็กหนุ่มกำพร้าวัย 15 ปีชาวเมืองเวอร์จิเนีย ถูกทอดทิ้งให้อยู่ตามลำพังในชนบท นอกจากเขาจะมีจมูกใหญ่ผิดปกติแล้ว (แต่เขาเป็นชายจมูกใหญ่ซึ่งไม่มีพฤติกรรมลำพองตน) เขายังมีนิสัยเป็นคนขี้ขลาดขี้อาย ยิ่งเป็นซ้ำเติมทำลายบุคลิกภาพให้แย่ลงไปอีก คนรอบข้างจึงไม่คิดว่าเขาจะเติบโตเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของชาติได้ แต่เขาตระหนักดีว่าเขาจะต้องเป็นผู้สร้างอนาคตด้วยตนเอง โชคชะตานั้นอยู่ในกำมือของเขาเอง จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงคือพิจารณาลักษณะนิสัยของตน จดบันทึกไว้ในสมุดพกเล่มหนึ่ง แบ่งเป็นส่วนดีและส่วนบกพร่องหรืออ่อนแอ ใช้การสังเกตทุกวัน หาวิธีการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น ในที่สุดก็สามารถวางกฎเกณฑ์สอนตัวเองจนบุคลิกภาพเปลี่ยนไปชนิดพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ เป็นกฎที่มีอยู่ 57 ข้อด้วยกัน การปฏิบัติอย่างเคร่งครัดไม่ว่าเขาจะเคลื่อนไป ณ จุดใด กฎเหล่านี้ก็ติดตามเขาไปเช่นกัน ขณะที่อเมริกาประกาศอิสรภาพจากอังกฤษกฎเหล่านี้ก็ติดตามเขาไปเช่นกัน ต่อมาเมื่อเขาได้เป็นสมาชิกของเวอร์จิเนียเฮาส์ออฟเบอร์เกสส์ กฎทั้ง 57 ได้เข้าไปนั่งอยู่ในสภาพร้อมกัน และเมื่อครั้งเข้าประชุมสภาคองเกรสและกระทำสัตย์สาบานตนเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐ กฎเหล่านี้ก็ยังนอนยิ้มกริ่มในกระเป๋าของเขาอีกเช่นกัน
คัทรินมหาราชินี จากหญิงสาวเยอรมันที่ถูกจัดว่าหน้าตาน่าเกลียดคนหนึ่ง ในครอบครัวที่พ่อเป็นข้าราชการระดับล่าง ฝ่าวงล้อมแห่งอุปสรรคอาจหาญก้าวขึ้นเป็นจักพรรดินีผู้มีสร้อยพระนามมหาราชินีแห่งจักรวรรดิรัสเซียมหาอำนาจของยุโรปได้ คนแวดล้อมมองว่าเด็กสาวคนนี้อย่างดีคงเป็นได้แค่เพียงแม่บ้านของนายทหารเยอรมันคนใดคนหนึ่งเท่านั้น ขณะที่ทุกคนมองข้ามเธอไปเธอกลับวิเคราะห์ตนเองและโลกภายนอก ภายหลังจากเธอประสบความสำเร็จเกินกว่าคนทั่วไปจะทำได้เธอได้เขียนบันทึกไว้ตอนหนึ่งซึ่งทำให้โลกได้รับรู้ว่าเธอสร้างความรุ่งโรจน์ด้วยอำนาจแรงส่งของบุคลิกภาพว่า “เมื่อข้าพเจ้าอายุได้สิบสี่หรือสิบห้าปี ข้าพเจ้าก็แน่ใจว่า ข้าพเจ้ามีรูปร่างขี้เหร่ ฉะนั้นข้าพเจ้าจึงจำเป็นต้องปรับปรุงคุณสมบัติภายในของข้าพเจ้าให้สูงส่งยิ่งขึ้น เพื่อชดเชยความน่าเกลียดในรูปร่างของข้าพเจ้าเอง”
ลีโอ ตอลสตอย นักประพันธ์ผู้ยิ่งใหญ่ชาวรัสเซีย คนไทยไม่น้อยรู้จักผลงานซึ่งถูกแปลเป็นภาษาไทยเล่มหนาอย่าง สงครามและสันติภาพ ในวัยเด็กเป็นชายที่เติบโตบนกองเงินกองทองตามประสาของคนในชนชั้นดังกล่าวเขาใช้ชีวิตรื่นเริงตามฐานันดรของตนเอง พ่อของเขาเป็นขุนนางมีบรรดาศักดิ์ มีไร่นาจำนวนมากพร้อมด้วยทาสรับใช้อีกนับร้อย แต่เขาไม่ใคร่พอใจในสิ่งเหล่านี้นักเมื่อได้เห็นการกดขี่ผู้คนจากอิทธิพลของครอบครัวตน ส่งผลให้เขาไม่ได้รับความชื่นชมจากพ่อแม่และญาติพี่น้อง อีกทั้งรูปลักษณ์เป็นคนจมูกใหญ่ ปากหนา (เน้นว่าปากหนานะครับไม่ใช่จมูกใหญ่ และปาก...อย่างอื่น) เขารู้ตัวเองดีว่าไม่มีใครชอบในวัย 14 ปีเขาจึงเริ่มวิเคราะห์ตนเองอย่างเงียบๆ สำรวจนิสัยต่างๆ ที่คิดว่าเป็นเครื่องบั่นทอนบุคลิกภาพของตน แล้วบันทึกนิสัยเสียทั้งหมดเอาไว้ 4 ปีผ่านไปได้จัดกลุ่มนิสัยดีของตนเพื่อเปรียบเทียบกับนิสัยเสียซึ่งค้นพบ แต่ในวัยเพียง 18 ปีชีวิตได้เข้าไปพัวพนกับความบันเทิงสนุกนานตามประสาคนหนุ่มและความมั่งมีของครอบครัว การดื่มสุรา การพนัน จนเมื่อแต่งงานในวัย 34 ปี หลังจากฮันนีมูนผ่านพ้นไป ภรรยาได้ค้นพบบัญชีนิสัยในอดีต นำพาสู่การชักจูงให้ละทิ้งนิสัยเลวร้ายหันมามีความประพฤติที่ถูกที่ควร เพราะรู้ว่าสามีไม่ชอบการบังคับ ผลจากการดำเนินกลยุทธ์ของศรีภรรยาส่งผลให้เกิดนักคิดนักปฏิรูปที่ผลงานได้รับความนิยมกึกก้องในยุคพระเจ้าซาร์ เป็นโชคดีที่ผู้อยู่เบื้องหลังนั้นตระหนักถึงคุณค่าในสิ่งดีซึ่งสามีได้ค้นพบแตะละเลยไปเพราะสิ่งแวดล้อมชักนำ จึงไม่แปลกที่เขามักจะกล่าวยกย่องภรรยาผู้เปลี่ยนชีวิตเขาไปในทางที่ดีอยู่เสมอ
การสร้างตนเองให้เป็นที่ยอมรับนั้นไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถ หากแต่การเปลี่ยนแปลงตนเองไปสู้สิ่งที่ดีกว่านั้นเป็นสิ่งที่จะเป็นจะต้องตระหนักรู้ พร้อมกับการเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีกว่าในชีวิต บางทีการค้นพบแล้วปล่อยให้ผ่านเลยไปตามกาลเวลาอย่างน่าเสียดาย แต่ไม่สายเกินไปที่จะสร้างคุณค่าให้ตนเองจากบุคลิกภาพทีดี ตัวอย่างของผู้นำโลกที่นำมาบอกกล่าว ก็หวังว่านักศึกษาคงจะนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนาตนเองต่อไปนะคะ
การสื่อสารดี นำชีวีเป็นสุข
ปากเป็นเอก เลขเป็นโท ...คารมเป็นต่อรูปหล่อเป็นรอง ...พูดดีเป็นศรีแก่ตัว... ปลาหมอตายเพราะปาก ...สำนวนเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นว่า การพูดเป็นเครื่องมือสื่อสารสำคัญ ที่นำไปสู่ความสำเร็จในชีวิตของคนเรามาแต่ไหนแต่ไรแล้ว มายุคนี้ทักษะการพูดยิ่งสำคัญ ดูไปแล้วเรียกได้ว่าการทำงานทุกอย่างล้วนอาศัยการพูดเป็นเครื่องมือ ทำให้งานประสบความสำเร็จ แม้แต่คนที่ทำงานฝีมือเช่นจิตรกร ก็ยังต้องรู้จักพูดอธิบายคอนเซ็ปต์งานของตัวเอง เพื่อให้งานมีความหมายประทับใจผู้ชม แต่การพูดก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน โดยเฉพาะการพูดต่อหน้าคนหมู่มาก และการพูดเก่งก็ไม่ใช่การพูดมากเสียจนเพ้อเจ้อเกินงาม การพูดอย่างมีศิลปะนับเป็นทักษะที่ต้องอาศัยการฝึกฝน
ดร. จิตรา ดุษฎีเมธา จากสถาบันพัฒนาบุคลิกภาพ John Robert Powers ได้แนะนำว่า การฝึกทักษะการพูดอย่างเป็นเรื่องเป็นราวนั้น ควรเริ่มตั้งแต่วัยประถม เพราะเด็กเริ่มต้องเข้าสังคมมากขึ้นแล้วนั่นเอง
เปิดใจ ก่อนเปิดปาก สิ่งสำคัญที่จะทำให้พูดได้ดีคือต้องกล้าที่จะพูด และออกเสียงเสียก่อน โดยในขั้นตอนการฝึกนั้น อาจารย์จิตราจะให้เด็กๆ ลองพูดให้ฟังในเรื่องง่ายๆ ใกล้ตัวก่อน เพื่อดูพื้นฐานและปัญหาการพูดของเด็กแต่ละคน เพื่อจะปรับให้ถูกทาง
"ในเด็กขี้อาย ไม่กล้าพูด บางทีเขาพูดเบาไม่กล้าเปิดปาก ก็ใช้มุกว่า เราหูตึงนะ พูดดังนิดนึงนะ เหมือนกับว่าไม่ใช่ความผิดของเขา ให้เขากล้าที่จะออกเสียง ให้ตะโกนเรียกความมั่นใจ หรือให้อ่านแล้วพูดแสดงความเห็นในกลุ่ม บางคนไม่พูดเพราะไม่มีเรื่องจะเล่า พ่อแม่ต้องให้เขามีประสบการณ์จากการทำกิจกรรม ไปสถานที่ต่างๆ เยอะๆ เขาจะได้มีเรื่องที่อยากมาเล่าต่อ บางคนไม่กล้าพูดเพราะกลัวผิด ก็ต้องปรับทัศนคติเด็กด้วยว่า พูดผิดไม่ใช่สิ่งน่าอายหรือน่ากลัว
"สำหรับเด็กที่กล้าพูด พูดมากอยู่แล้ว ต้องให้เขาหัดฟังคนอื่นบ้าง ฟังให้เป็นจับประเด็นให้ได้ ซึ่งจะส่งผลย้อนกลับมา ทำให้เขาพูดได้ดีและตรงประเด็นได้น่าสนใจขึ้นค่ะ”
อยากพูดเก่ง ต้องฝึก
เมื่อกล้าแล้ว ก็ก้าวสู่การพูดที่ถูกต้อง โดยเริ่มตั้งแต่การฝึกลมหายใจ
"การหายใจมีผลกับการเปล่งเสียง เพื่อคุมจังหวะการเว้นวรรคได้ ให้รู้จักการเปิดคอ เปล่งเสียงออกมาอย่างมั่นใจ สังเกตถ้าหายใจสั้นจะดูเหมือนคนขี้กลัวได้ ซึ่งการหายใจที่ถูกต้องคือหายใจเข้าท้องพอง หายใจออกท้องแฟบ ถ้าเราหายใจช่วงระดับอก พูดนานๆ จะเจ็บคอ เสียงแห้ง ออกเสียงเหมือนตะเบ็ง บางคนพูดเร็วจะหายใจระดับอก เป็นห้วงๆ สั้นๆ ทำให้เสียบุคลิกภาพ เมื่อฝึกหายใจได้ถูกต้องแล้ว จึงค่อยไปสู่การฝึกออกเสียงการพูดให้ฉะฉาน การปรับคำพูดให้เหมาะสม
"วัยรุ่นปัจจุบันมีปัญหาเรื่องการพูดเร็ว ไม่มีหางเสียง ติดใช้คำที่พูดกับกลุ่มเพื่อน ก็แบบ...เอ่อ...ก็คือ ...แบบว่า... ในการเชื่อมประโยค ต้องลองให้เขาอัดเทปแล้วมาฟัง จะทำให้เขาเห็นตัวเองมากขึ้น และยอมปรับ
"เด็กที่พูดเร็ว จะปรับโดยให้อ่านออกเสียง เพื่อฝึกควบคุมระดับและจังหวะของเสียงให้ดีขึ้น คนที่พูดเร็วอาจเกิดจากประหม่า พอคุมได้จะดีขึ้น จากนั้นมาดูเรื่องระดับเสียง ถ้าเสียงดังพูดแล้วฟังเชื่อมั่น แต่บางคนก็พูดดังแต่ไม่มีหางเสียง ทั้งๆ ที่การลงท้ายของประโยคทุกคำก็มี 'ครับ' มี 'ค่ะ' แต่ฟังแล้วยังห้วนอยู่ ก็ต้องปรับ แล้วจึงไปพัฒนาต่อในเนื้อหาวิธีการเรียงลำดับ มีขึ้นต้น ลงท้าย การพูดที่ถูกกาลเทศะ ใช้อักขระถูกต้อง มีอารมณ์ร่วมในสิ่งที่พูด ที่สำคัญต้องให้เกิดความรู้สึกดีกับการพูดของเขาด้วยค่ะ”
เมื่อปรับกระบวนการพูดได้แล้ว ก็ต้องมาดูที่ท่าทาง ที่นี่เขาจะบันทึกการพูดใส่วิดีโอไว้ แล้วมาเปิดให้ดู พร้อมกับฟังคำแนะนำจากครูไปพร้อมๆ กัน ช่วยให้เด็กเห็นภาพชัดขึ้น โดยต้องยอมรับว่า เด็กแต่ละคนมีบุคลิกการพูดที่ต่างกัน ต้องหาเวที และโอกาสให้เขาได้พูดบ่อยๆ และฝึกฟังด้วย เพื่อค้นหาสไตล์ที่เหมาะสมกับตนเอง
พูดอย่างไรให้มีเสน่ห์
เมื่อฝึกจนพูดได้ถูกต้อง ไพเราะเหมาะสมแล้ว ขั้นต่อไปก็ต้องคิดเสริมเสน่ห์ให้คนฟังสนใจฟังเราโดยตลอด และถ้าจะให้ดี ดึงคนดูมามีส่วนร่วมในเรื่องที่เราพูดด้วยก็จะเยี่ยมมาก ทั้งนี้ต้องอาศัยศิลปะการแสดง เข้ามาช่วยสื่อภาษากายให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด
"เสน่ห์ในการพูด ที่ทำง่ายที่สุดคือ การแสดงอารมณ์ให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด หากเป็นเรื่องจริงจัง ก็ต้องสำรวม น่าเชื่อถือ หรือถ้าเล่าเรื่องความประทับใจด้วยใบหน้าตึงๆ เสียงเนือยๆ ก็ไม่มีใครอยากจะฟัง เพราะไม่แน่ใจว่าเราประทับใจกับเรื่องที่เล่านั้นจริงๆ เหรอ หรือมีรอยยิ้มเวลาพูด ก็ช่วยสร้างบรรยากาศ ให้คนที่พูดด้วยรู้สึกสบายๆ ทำให้การสร้างมนุษยสัมพันธ์ดีขึ้น มีการให้น้ำหนักของการขึ้นลงของเสียง เช่น ตรงไหนสำคัญต้องการเน้น ก็เว้นจังหวะให้คนฟังรวบรวมสมาธิ หรือให้เกิดสงสัยว่าสิ่งที่เราจะพูดต่อคืออะไร ทำให้การพูดของเรามีสีสัน น่าสนใจ
"การฝึกพูด ไม่ใช่ว่าจะทำให้คนพูดน้อยกลายเป็นนักพูดที่เก่งนะ เขาอาจจะพูดน้อยเหมือนเดิมแต่ เขาจะพูดได้อย่างมั่นใจ และน่าฟังมากขึ้น เพราะเราเน้นฝึกในเรื่องของการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นด้วย”
ทำอย่างไรไม่ตื่นเวที
เมื่อฝึกพูดได้คล่องจนพูดหน้าห้องได้อย่างสบายแล้ว ลองหาโอกาสขึ้นมาพูดบนเวทีบ้าง งานนี้จะยากแค่ครั้งแรก พอผ่านได้ ครั้งที่สอง สาม ก็หมูๆ แล้ว
"เมื่อต้องพูดต่อคนหมู่มาก ต้องมีการเตรียมตัว คุณอาจชวนลูกเขาคุย แล้วช่วยเขาลำดับเรื่องราวที่เขาอยากนำเสนอให้น่าสนใจ ไม่กระโดดไปกระโดดมา โน้ตหัวข้อไว้จากนั้นจึงฝึกซ้อมท่องบทหน้ากระจก ฝึกบ่อยๆ จนเปลี่ยนจากการท่องเป็นการเล่าได้ อาการตื่นเต้นจะผ่อนคลาย พูดได้คล่อง และเป็นธรรมชาติมากขึ้น
"ก่อนขึ้นเวทีให้ทำสมาธิ วอร์มร่างกาย วอร์มเสียง เพื่อผ่อนคลาย ลดอาการตื่นเต้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของการประหม่า ทำให้พูดตะกุกตะกัก เพราะเมื่อตื่นเต้น ลิ้นจะแข็ง ร่างกายเกร็ง ทำให้นึกเรื่องไม่ออก แล้วพอพยายามนึก ตาก็เหลือกไปข้างบน เสียบุคลิกภาพ”
อย่างไรก็ตาม แม้เขาจะพูดดีเพียงใด บางครั้งการพูดต่อหน้าสาธารณชนก็ต้องมีคนที่ไม่สนใจฟังบ้าง หรือขนาดลุกออกไปเลยก็มี สิ่งนี้จะบั่นทอนกำลังใจของผู้พูดอย่างมาก ทั้งๆ ที่บางทีผู้ฟังอาจชื่นชอบ ในสิ่งที่เขาพูดแต่มีธุระด่วนต้องลุกไปก่อนก็ได้ ตรงนี้ต้องฝึกให้ลูกจัดการกับอารมณ์ตนเอง แม้จะวอกแวกไปบ้าง แต่ต้องกู้ความมั่นใจกลับมา ดึงสมาธิให้มาอยู่กับสิ่งที่กำลังพูดให้เร็วที่สุด นอกจากนี้การสะกดให้ผู้ฟังมีความสนใจอย่างต่อเนื่อง มีเทคนิคที่สายตา
"การใช้สายตาสะกดผู้ฟังมีหลายวิธี แต่มีหลักคือ ไม่มองจ้องมากเกินไป หรือหลวมเกินไปสายตาส่ายไปมา เราควรเริ่มเคลื่อนสายตาจากตรงกลาง เช่น หากมองทางซ้าย ก็กลับมาตรงกลางก่อนแล้วค่อยย้ายไปทางขวา แล้วสลับคนมองไปเรื่อยๆ ผู้ฟังจะได้ไม่อึดอัด หรือคนที่เราไม่มองเลย เขาจะรู้สึกว่าเราไม่ใส่ใจ เราต้องกระจายความสนใจให้ทั่วถึง แล้วต้องมองแบบมีโฟกัสด้วย ส่วนท่าทางก็เคลื่อนไหวแต่พองาม ให้สัมพันธ์กับเรื่องที่พูด"
นอกจากนี้อาจารย์จิตรายังย้ำถึงประโยชน์ของการพูดว่า
"การพูด ทำให้เกิดความมั่นใจ ทำให้รู้จักตัวเองมากขึ้น แล้วได้พัฒนาสมอง พัฒนาในเรื่องของระบบวิธีคิด การวางแผน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ยิ่งเปิดโอกาสให้ได้ฝึกพูดมากเท่าไหร่ เด็กจะยิ่งพูดได้คล่องขึ้น ไม่จำเป็นต้องฝึกพูดต่อหน้าคนเยอะๆ เท่านั้น แต่พูดกับคนรอบข้างก็ได้ค่ะ”
สรุปแล้วการพูดเป็นทักษะที่ต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างค่อยเป็นค่อยไป และในที่สุดการพูดดีมีศิลปะนี่เอง ที่จะเสริมให้ผู้พูดมีบุคลิกดีตามไปด้วยนะคะ เชื่อเถิดค่ะ
บุคลิกภาพพัฒนาได้นะ_____จะบอกให้
โดยทั่วไปมนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่มีศักยภาพที่จะสร้าง พลังอำนาจบุคลิกภาพ ที่จะจูงใจคนหรือครองใจคนได้ด้วยกันทั้งสิ้น อยู่ที่จะศึกษาและทุ่มเทการพัฒนาที่จะเพิ่มศักยภาพด้านบุคลิกภาพให้เต็มที่หรือไม่
การพัฒนาบุคลิกภาพอาจเริ่มต้นพัฒนาจากสิ่งเหล่านี้
1.การวางท่าทาง ( มาด) ให้ดูดี
ถ้าคุณต้องการให้คนอื่นสนใจ ชื่นชอบ การวางท่าทาง การทรงตัววางตัวของท่านให้ดูดี เป็นการสร้างเสน่ห์และเสริมสร้างบุคลิก คุณต้องพยายามสังเกต หัดวางมาดที่ดีเสียก่อน ฝึกหัดลีลาท่าทาง การพูดคุย การหัวเราะ ยิ้มแย้ม ตลอดจนการเดินยืนให้สง่าผ่าเผย การเยื้องย่าง การเคลื่อนไหวตัว ฝึกฝนให้สง่างาม ถ้าไม่งามสง่าก็ต้องน่ารัก การวางตัวให้เหมาะสมกับกาลเทศะ เพื่อให้ผู้พบเห็นประทับใจในตัวคุณ เมื่อนั้นคุณจะเริ่มมีเสน่ห์ –หัดกับกระจก/ ถ่ายวีดิโอเก็บไว้
2. แต่งกายดีเข้าไว้
คนเรามองกันที่การแต่งกายเป็นลำดับแรก เครื่องแต่งกายช่วยสร้างบุคลิก ความประทับใจ ดึงดูดความสนใจ การแต่งกายให้ดูดีนั้นไม่จำเป็นต้องซื้อเสื้อผ้ายี่ห้อดี ราคาแพง นำสมัย แต่อยู่ที่ความเหมาะสมกับรูปร่าง สะอาด รีดเรียบ
3. ยิ้มแย้มแจ่มใส
ทุกคนชอบคนที่ยิ้มแย้มแจ่มใส การยิ้มจึงเป็นการสร้างเสน่ห์ อย่าทำหน้าบูดบึ้ง ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์เช่นไร ถ้าอยากมีบุคลิกภาพที่ดี อยากมีเสน่ห์ก็ต้องยิ้มแย้มเข้าไว้ จะยิ้มมากยิ้มน้อย ก็ตามแต่สถานการณ์ อย่างน้อยควรให้หน้าอมยิ้มหรือบ่มยิ้มเข้าไว้
4.สื่อภาษาพูดให้มีแต่ความหมายที่ดีออกมา
เรียกว่าพูดจาใช้ภาษาดอกไม้ให้ไพเราะ สุภาพ คนโสดที่หาแฟนไม่ค่อยได้ก็เพราะปากไม่ดี พูดไม่เป็น สื่อความหมายที่ดีล้มเหลว ทะลึ่งตึงตัง ไม่ดูที่ดูเวลา ต้องรู้จักวิธีและหัดพูดให้ไพเราะ รู้ว่าเวลาไหนควรพูด เวลาไหนควรหยุดพูด พูดให้ประทับใจ พูดให้มีบุคลิก พูดจาไพเราะเพราะพริ้งเข้าไว้
5.การประพฤติตนอยู่ในกรอบระเบียบ กฎเกณฑ์ของสังคม
คนเรามีกรอบ กฎ ระเบียบ เมื่อเข้าสู่สังคมต่างๆ เริ่มจากที่จะต้องปฏิบัติตามสิ่งที่ดี สิ่งที่ถูกต้อง เช่น ศีลธรรม ผู้ไม่มีศีลธรรมก็จะทำให้เสียบุคลิก ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบจราจร ถ้าไม่ปฏิบัติก็จะถูกจับ ถูกปรับให้เสียบุคลิก เมื่อเข้าเป็นสมาชิกสโมสร ชมรม กลุ่มต่างๆก็จะต้องปฎิบัติตามกฎ ระเบียบ ประเพณี ของกลุ่ม ถ้าไม่ปฎิบัติตามก็จะถูกติฉินนินทาเสียบุคลิก เช่นถ้าจะไปเล่นกอล์ฟ จะต้องไม่ใส่เสื่อคอกลม นุ่งกางเกงยีนส์ ใครทำแปลกออกไปก็จะเสียบุคลิก เป็นต้น
ทุกคนมีบุคลิกภาพที่ดีได้ หัดแสดงออก วางท่าทางให้เหมาะสมกับเวลา สถานที่ สังคม
การพูดอย่างมีบุคลิกภาพและสร้างสรรค์
ผู้ที่จะพัฒนาบุคลิกภาพต้องสนใจในพัมนาการพูดของตนให้มาก ระมัดระวังการพูด ควบคุมการคิด อารมณ์ ความรู้สึกที่จะผสมผสานออกมาเป็นคำพูด ต้องค่อยๆพุดอย่างนุ่มนวล สุภาพ ไม่รุนแรง พุดจากันดีๆ แม้บางครั้งจะฝืนความรู้สึกบ้างแต่ก็จะเกิดความเคยชินในการพูด ทำให้เกิดบุคลิกที่ดี เป็นประโยชน์ และยังเป็นการสร้างบรรยากาศที่ดีในการคบหา การพูดจาไม่สุภาพ หยาบคาย สัปดน พูดรุนแรง ตำหนิติเตียน นินทาว่าร้าย ส่อเสียด พูดไปบ่นไป จะทำให้บรรยากาศพุดคุยคบหาน่ารังเกียจ น่ารำคาญ อึดอัด ทำให้สังคมนั้นไม่น่าคบ เสียบุคลิกภาพโดยเฉพาะผู้ที่จะพูดเป็นผู้ที่น่ารังเกียจ ไม่มีเสน่ห์น่าคบ
คำพูดที่ควรพูดให้ติดปากไว้เช่น สวัสดีครับ สบายดีหรือครับ ขอบคุณครับขอโทษครับ รวมกับความยิ้มแย้มแจ่มใสเข้าไปด้วย จะทำให้บรรยากาศดีมีบุคลิก ช่วยให้จิตใจผู้พูดอ่อนโยนลง สุภาพ เกิดความสบายใจกับทุกฝ่ายแสดงถึงความมีอัธยาศัยไมตรี มีความสุภาพ เป็นมิตร เหล่านี้เป็นการพูดอย่างสร้างสรรค์ มีประโยชน์ เป็นที่พอใจของผู้คบหาสมาคมด้วย
การกล่าวคำว่า”ขอบคุณ”เป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกที่เห็นคุณค่าของการกระทำ สิ่งที่ให้ สิ่งที่ได้กระทำลงไป เป็นการซาบซึ้งในน้ำใจของอีกฝ่ายหนึ่ง ทำให้ผู้ฟังเกิดความดีใจ ชื่นใจ ปลื้มปิติ อยากกระทำความดีเช่นนั้นยิ่งขึ้นไป
การกล่าวคำ”ขอโทษ” แสดงถึงความรู้สึกถึงความผิดพลาด ยอมรับผิด ยอมอ่อนน้อมให้เกียรติ สำนึกถึงความผิดพลาดที่ได้ทำลงไป ทำให้ความรู้สึกโกรธของอีกฝ่ายหนึ่งลดลง แม้ผู้ใหญ่ที่ทำความผิดพลาดล่วงเกินต่อผู้น้อยก็ควรขอโทษได้เช่นกัน
หลักการพูดทั่วไปเพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ ก่อนการพูดต้องคำนึงถึงจุดมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ของการพูดว่าจะดีมีประโยชน์ เกิดผลกระทบต่อใคร ถ้าไม่เกิดประโยชน์หรือเป็นผลดี ไม่พูดจะดีกว่าพูด ส่วนมากจะพูดไปแล้วจึงมาคิดภายหลังว่าไม่ควรพูด ควรพิจารณาสถานการณ์ บรรยากาศในขณะที่พูดไปด้วย ว่าควรจะพูดให้ยาวหรือสั้น ผู้ฟังสนใจอะไรในขณะนั้น
ภาษาในการพูดที่ควรใช้ มีดังนี้
1. เป็นภาษาที่ส่อให้เห็นว่าเป็นผู้มีการศึกษาดี ถูกต้องตามหลักภาษา ใช้ถ้อยคำสุภาพ ไพเราะเช่นคำว่า รับประทาน จะไพเราะกว่า คำว่า กิน นะครับ ไพเราะกว่า นะฮะ อุจจาระ ปัสสาวะ เป็นคำที่ไพเราะพูดได้ทุกที่ ต้องระวังคำแสลงและคำหยาบคาย คำไม่สุภาพ อย่าพูดหยาบคาย ทะลึ่ง สัปดน เป็นการไม่ให้เกียรติผู้ฟัง
2.การออกเสียง ร ล คำควบกล้ำชัดเจน จะไพเราะกว่ากันมาก เช่น คำว่า รัด บาน กับ รัฐบาล ลัดทำนูน กับ รัฐธรรมนูญ ปอดโป่ง กับปลอดโปร่งเป็นต้น
3 มีการเน้นเสียงหนักเบา ในบางช่วง บางตอน บางคำ จะน่าสนใจฟังกว่าการพูดเสียงระดับเดียวหรือใกล้เคียงกัน เช่น ดีมาก เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เราควรพยายามพูดให้มีจังหวะการพูดที่ถูกต้อง พอเหมาะ จะทำให้น่าฟังขึ้น
4 พยายามตัดหรือขจัดคำ อื้อ เอ้อ อ้า ออกไปให้หมดหรือคำพูดซ้ำบ่อยๆ เช่นคำว่า นะครับ นะครับ นะครับ แล้วก็ แล้วก็ แล้วก็ เป็นต้น
5 ขจัดคำว่า ไอ้ อัน มัน ซึ่งเป็นคำไม่สุภาพ เช่นมันไม่ดี ไอ้อันนี้ อันที่สอง
6 จงยิ้มแย้มแจ่มใสขณะพูด ดีกว่าหน้าบูดบึ้งเป็นร้อยเท่า รอยยิ้มเป็นสิ่งที่ไม่ต้องลงทุนซื้อหา แต่อาศัยการฝึกหัด ยิ้มทุกวันวันละหลายครั้งใบหน้าจะปรากฎรอยยิ้มอันสวยงามได้ อย่าพูดหยาบคาย ทะลึ่ง สัปดน เป็นการไม่ให้เกียรติผู้ฟัง
บุคลิกภาพเบื้องต้นที่ดี ( ที่ควรมี )
-หน้าตาสะอาด สะอ้าน สดชื่น ไม่ขุ่นมัว
-เดิน นั่ง ให้สง่าผ่าเผย
-ยิ้มแย้มแจ่มใสเสมอ
-แต่งกายให้สะอาด รีดเสื้อผ้าให้เรียบร้อย
-ใช้คำพูดไพเราะ อ่อนหวาน สุภาพ
-แนะนำตัว แสดงตัวกับบุคคลทั่วไป
-รู้จักทักทายปราศรัยกับบุคคลทั่วไป
-หัดยกย่องและสรรเสริญผู้อื่น
เราจะพัฒนาบุคลิกในด้านต่างๆอย่างไร
อย่างแรกที่จะพัฒนาคือการพัฒนาทางด้านร่างกาย ได้แก่
-การทรงตัวในการนั่ง ยืน เดิน ไม่หลุกหลิก หลังตรง
-การแต่งกาย เสื้อผ้า เครื่องประดับ ต้องสะอาด เรียบ
-การพูด การสนทนา ไพเราะ สุภาพ อ่อนหวาน
-บุคลิก มีความแจ่มใส ยิ้มแย้ม มีชิวิตชีวา กระตือรือร้น
-กิริยามารยาท ให้สุภาพ อ่อนน้อม มีสัมมาคารวะ เกรงใจคน
-อารมณ์ จิตใจแจ่มใส ร่าเริง
-อุปนิสัย การรับประทานอาหาร การเคี้ยว การไอ การจาม การหาว
-คุณธรรมประจำใจ รักษาให้มั่นคง
การควบคุมอารมณ์ ได้แก่
-ควบคุมการแสดงออก สงบ เยือกเย็น สุขุม
-ควบคุมอารมณ์โกรธ ไม่ฉุนเฉียว ไม่โกรธง่าย
-ไม่ใจร้อน เจ้าอารมณ์
-อดทน อดกลั้น ไม่โต้ตอบ
-การระงับความกระวนกระวายใจ
-ค้นหาสิ่งที่ทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดและขจัดออกไป
-ควบคุมพฤติกรรมที่แสดงออก เนื่องจากอารมณ์
การพัฒนาคุณธรรม
-ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เห็นแก่ตัว เห็นแก่ได้
-ความเสียสละ
-ซื่อสัตย์ สุจริต
-ยึดหลักธรรมะ คำสั่งสอนของศาสนา
การพัฒนาจิตใจและรสนิยม
-อ่านหนังสือที่ดี
-ฟังเพลงที่มีรสนิยม
-สนใจศิลปะที่งดงาม
-ชมภาพยนตร์ ฟังดนตรี การแสดงดีๆบ้าง
การพูด การสนทนา
-พูดอย่างมีบุคลิก สุภาพ อ่อนหวาน ไพเราะ
-รู้จักเลือกใช้คำพูด น้ำเสียง ไม่แฝงอารมณ์
-หลีกเลี่ยงการโต้แย้ง โต้เถียง
การรักษาสุขภาพ
-ดูแลเอาใจใส่สุขภาพให้แข็งแรง
-ผิวหนังสะอาด
-หมั่นออกกำลังกาย เล่นกีฬาบ้าง
บุคลิกบางอย่าง บางคนเป็นสิ่งที่ติดตัวมากับตัวเอง เช่น รูปร่าง หน้าตา นิสัยใจคอ อารมณ์ เราควรวิเคราะห์ว่าสิ่งใดที่เราได้รับมาเป็นสิ่งที่ดีก็เสริมสร้างพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น สิ่งใดที่เห็นว่าเป็นข้อบกพร่องก็ต้องแก้ไขปรับปรุงเช่น ใจร้อน อารมณ์ฉุนเฉียว
บุคลิกจึงสามารถพัฒนาได้จากสิ่งต่างๆ ดังนี้
1. พัฒนาจากสิ่งที่ดีและไม่ดีที่มีอยู่ในตัวทุกคน คือความดีและไม่ดีตามธรรมชาติที่ติดตัวมา จึงต้องมีการวิเคราะห์ว่าตัวเรานี้มีส่วนที่ดีอยู่ที่ใดบ้าง ส่วนเสียอยู่ที่ใดบ้าง พยายามขจัดส่วนเสียหรือปมด้อยออกไป บางอย่างอาจปกปิดได้ เช่น แผลเป็นที่แขน ก็ใส่เสื้อแขนยาว ถ้าหูไม่สวยก็ทำผมปิดหู ถ้าหูสวยก็ทำผมเปิดหู ถ้าหลังสวยก็ใส่เสื้อเปิดหลัง ถ้าขาไม่สวยก็ควรสวมกระโปรงยาวหรือใส่กางเกงขายาว เป็นต้น
2. พัฒนาโดยการปรุงแต่ง เราควรปรับปรุงในส่วนที่ยังด้อยอยู่ ให้ดีเด่นขึ้น เช่น ท่วงท่าการเดิน การวางตัวให้มีท่าทางสวยงาม จึงต้องมีการฝึกหัดเดิน ฝึกหัดนั่ง การรับประทานอาหาร การตักอาหารเข้าปาก การเคี้ยวอาหาร การแต่งกาย การเลือกเสื้อผ้าที่แต่งแล้วช่วยเสริมบุคลิก ควรมีจิตใจที่จะแต่งเนื้อแต่งตัวให้ดูอิ่มเอิบ สวยงาม สดใสอยู่เสมอ ถ้าเป็นคนใจร้อนวู่วาม ก็ต้องควบคุมอย่าให้อารมณ์เสียบ่อยๆ จะทำให้เสียบุคลิก โดยฝึกหัดบ่อยๆ นานๆ เข้าก็จะเคยชิน และทำได้ ควบคุมได้ บุคลิกก็จะดีขึ้นเอง เป็นคนมีเสน่ห์น่ารัก น่าคบหา
3. เพิ่มสิ่งที่ดีงามเข้าไป บางคนไม่เคยใช้เครื่องสำอาง ก็หัดใช้ น้ำหอมก็หัดใช้เสียบ้าง หัดฟังเพลงที่ไพเราะ ชมการแสดง อ่านหนังสือดีๆ ที่จะกล่อมเกลาจิตใจให้มีสุนทรียภาพ มีความนุ่มนวล ละมุนละไม หัดความเป็นผู้ดี เข้าสังคมดีๆ ฝึกหัดกิริยามารยาทที่ดีเพิ่มเติมเข้าไปอยู่เสมอ ขณะเดียวกันก็พยายาม ขจัดรสนิยมที่ไม่ดี การกระทำ การแสดงออก ไม่ประพฤติในสิ่งที่ไม่ดี หยาบคาย เป็นการขจัดข้อบกพร่อง เพื่อพัฒนาบุคลิกขึ้น และเพิ่มเติมสิ่งที่ดีงามเข้าไปอยู่เสมอทุกวันทุกวัย
4. พัฒนาบุคลิกและการแสดงออกประจำวันให้เป็นที่ประทับใจ พยายามแต่งเนื้อแต่งตัวให้ดูงดงามสดใส ยิ้มแย้มแจ่มใส อารมณ์ดีอยู่เสมอ พูดด้วยเสียงไพเราะ หัดท่วงท่า กิริยาการเดินการนั่งให้สง่าผ่าเผย กระตือรือร้น กระฉับกระเฉง มีชีวิตจิตใจ มีกิริยามารยาทสุภาพ อ่อนน้อม ประพฤติปฎิบัติให้เพิ่มขึ้นทุกวัน
5. เสริมสร้างภาพลักษณ์การเป็นผู้นำ ด้วยการรู้จักวางตัวเป็นผู้ใหญ่ อย่าทำตัวเป็นเด็กอยู่เสมอ ต้องมีความสุขุม เยือกเย็น หนักแน่น ควบคุมอารมณ์ ไม่โกรธฉุนเฉียว มีความอดทน อดกลั้น ไม่โต้ตอบรุนแรง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความเสียสละไม่เห็นแก่ตัว มีคุณธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ควรควบคุมพฤติกรรมทีทำให้อารมณ์ไม่ดี
การที่จะพัฒนาบุคลิกภาพต้องมีความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนแปลง นิสัย และความเคยชิน ผู้ต้องการพัฒนาเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพ ต้องมีความมุ่งมั่นในการฝึกฝนเปลี่ยนแปลงขัดเกลา ฝึกหัดตนให้ประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่เป็นหลักการพัฒนาบุคลิกภาพ โดยเปลี่ยนแปลงนิสัย เช่น ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยเริ่มจาก
1. อาศัยกำลังใจ ความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของตน
2. ลงมือ เริ่มต้นปฎิบัติอย่างจริงจัง เริ่มวันนี้ เดี๋ยวนี้ หรือทันที
3. โดยค่อยๆเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปทีละเล็ก ทีละน้อย ใช้เวลานาน ค่อยทำค่อยไป
การที่คนเราจะมีบุคลิกภาพที่ดีนั้น มิใช่อยู่ที่การแต่งกายดี มีฐานะดีเท่านั้น เพราะเสน่ห์ที่ชวนให้ผู้คนสนใจชื่นชอบ ติดตราตรึงใจนั้น มิใช่พิจารณาที่รูปร่างหน้าตาอย่างเดียวแต่ต้องประกอบด้วยหลายส่วนหลายลักษณะ เช่น การแต่งกาย อากัปกิริยา มารยาท ท่วงที ท่าทางการยืน การเดิน การนั่ง การแสดงออก การพูด อารมณ์ จิตใจ คุณธรรม ซึ่งเป็นบุคลิกภายในจิตใจ ความรู้ ระดับการศึกษา ความเฉลียวฉลาด การติดต่อสื่อสาร เป็นต้น
จะเห็นว่าคุณสมบัติแต่ละอย่างของบุคลิกไม่ใช่สิ่งสำคัญหรือจำเป็นที่สุด เพียงแต่ต้องมีหลายๆส่วนประกอบกัน จึงจะเป็นสิ่งสำคัญร่วมกันในการเสริมสร้างบุคลิกภาพให้สมบูรณ์